Jump to content

วิกิพีเดียเชิงนามธรรม

โครงการบน Phabricator: #abstract wikipedia
From Meta, a Wikimedia project coordination wiki
This page is a translated version of the page Abstract Wikipedia and the translation is 55% complete.
Outdated translations are marked like this.

โครงการ

โครงการนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน: วิกิพีเดียนามธรรม (Abstract Wikipedia) และ วิกิฟังก์ชัน (Wikifunctions)

เป้าหมายของ วิกิพีเดียเชิงนามธรรม คือเพื่อให้ผู้คนจำนวนมากขึ้นแบ่งปันความรู้ในภาษาต่าง ๆ มากขึ้น วิกิพีเดียนามธรรมเป็นส่วนขยายแนวคิดของวิกิสนเทศ[1] ในวิกิพีเดียนามธรรมผู้คนสามารถสร้างและดูแลรักษาบทความของวิกิพีเดียได้ด้วยวิธีที่ไม่ขึ้นกับภาษา วิกิพีเดียฉบับหนึ่งในภาษาสามารถแปลบทความที่ไม่ขึ้นกับภาษานี้เป็นภาษาของมันได้ โค้ดทำการแปล

วิกิฟังก์ชัน (Wikifunctions) คือโครงการวิกิมีเดียใหม่ที่ให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างและดูแลรักษาโค้ด โดยจะมีประโยชน์ในหลาย ๆ ทาง โดยจะมีรายการของชนิดของฟังก์ชันที่ทุกคนสามารถเรียกใช้ เขียน ดูแลรักษา และใช้งาน นั่นรวมไปถึงโค้ดที่ใช้แปลบทความที่เป็นเอกเทศกับภาษาจากวิกิพีเดียนามธรรมไปยังวิกิพีเดียในภาคภาษานั้น ๆ ซึ่งจะทำให้ทุกคนสามารถอ่านบทความในภาษาที่พวกเขาเข้าใจได้ วิกิฟังก์ชันจะใช้ข้อมูลความรู้จากวิกิสนเทศเกี่ยวกับคำและอัตลักษณ์ด้วย

สิ่งนี้จะทำให้เราทุกคนในโลกใบนี้ใกล้ชิดกันมากขึ้น ซึ่งทุกคนสามารถแบ่งปันความรู้ทั้งหมดได้

ฟังก์ชันคืออะไร?

“ฟังก์ชัน” คือลำดับของชุดคำสั่งในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งใช้สำหรับการคำนวนตามข้อมูลที่ได้รับ ฟังก์ชันเป็นรูปแบบของความรู้ซึ่งสามารถตอบคำถามได้ เช่น จำนวนวันระหว่างวันที่สองวันที่ หรือระยะทางระหว่างสองเมือง ฟังก์ชันที่ซับซ้อนมากขึ้นสามารถตอบคำถามที่ซับซ้อนมากขึ้นได้เช่นกัน อาทิเช่น ปริมาตรของวัตถุสามมิติ ระยะห่างระหว่างดาวอังคารและดาวศุกร์ในวันที่ระบุ หรือเปรียบเทียบว่าสปีชีส์สองชนิดมีชีวิตในช่วงเวลาเดียวกันหรือไม่ เราใช้ฟังก์ชันในการสืบค้นความรู้ในหลากหลายประเภท เช่น ถามคำถามกับเสิร์จเอนจิ้น แม่แบบที่รู้แล้วอย่าง {{convert}} และ {{age}} ในภาษาอังกฤษก็เป็นตัวอย่างของฟังก์ชันที่ใช้ในหลายวิกิพีเดีย เขียนในรูปแบบ wikitext และ Lua และถูกคัดลอกไปในหลายวิกิตามที่ต้องการ

ตัวอย่างฟังก์ชันต่าง ๆ สามารถดูได้ที่ ตัวอย่างฟังก์ชันเริ่มต้น และสามารถดูร่างโดยคร่าวแสดงให้เห็นภาพลักษณ์ของอินเตอร์เฟซที่ แบบจำลองเริ่มต้น

โดยสรุป ฟังก์ชันสร้างการคำนวนจากข้อมูลที่คุณให้ และตอบคำถามที่คุณมีเกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ

โครงการใหม่ของวิกิมีเดียนี้จะสร้างไลบรารีของฟังก์ชันซึ่งเขียนโดยอาสาสมัคร เพื่อช่วยตอบคำถามในลักษณะนี้ในหลากหลายภาษา การสร้างไลบรารีของฟังก์ชันของเรา จะทำให้เราสามารถเปิดโอกาสให้ผู้คนเข้าถึงและค้นพบความรู้ที่เข้าถึงได้ฟรีมากยิ่งขึ้นในแนวทางแบบใหม่

วิกิพีเดียนามธรรมคืออะไร

คำอธิบายด้วยภาพของโครงการวิกิพีเดียนามธรรม และวิกิฟังก์ชัน

คำว่า "วิกินามธรรม" นั้นอ้างถึงเป้าหมายระยะยาวของตัวเอง – นั่นคือไลบรารีของฟังก์ชันนี้จะเปิดโอกาสให้สร้างบทความที่เป็นเอกเทศจากภาษา เมื่อชิ้นส่วนต่างๆ ของโครงการนี้เข้าที่แล้ว นั่นหมายถึงว่าวิกิใดๆ ก็ตาม – โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิกิที่มีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง – จะสามารถเพิ่มจำนวนบทความในภาษาเหล่านั้นได้อย่างรวดเร็ว และหมายถึงผู้ที่แก้ไขบทความสามารถแบ่งปันความรู้จากวัฒนธรรมและบริบทของพวกเขาสู่ผู้ชมที่กว้างขึ้นในระดับโลกได้

วิกิใหม่ของฟังก์ชัน หรือ วิกิฟังก์ชัน จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการเขียนโค้ด เพื่อให้วิสัยทัศน์นี้เป็นไปได้ โดยโครงการในส่วนของวิกินามธรรมจะเริ่มต้นประมาณปี 2022

กล่าวอีกนัยหนึ่ง: เราจะสามารถรวมฟังก์ชันจากวิกิใหม่นี้ ด้วยฐานข้อมูลและข้อมูลทางภาษาศาสตร์จากวิกิสนเทศ เพื่อสร้างประโยคที่เป็นภาษาธรรมชาติในภาษาต่าง ๆ ที่รองรับ ประโยคเหล่านั้นจะสามารถใช้ได้โดยโครงการวิกิพีเดียใดก็ได้ (หรือสถานที่อื่น ๆ ได้เช่นกัน)

ไทม์ไลน์

มีส่วนร่วม

Abstract Wikipedia via mailing list Abstract Wikipedia on IRC Wikifunctions on Telegram Wikifunctions on Mastodon Wikifunctions on Twitter Wikifunctions on Facebook Wikifunctions on YouTube Wikifunctions website Translate

ความเป็นมา

บทความใน Signpost ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวคิด วัสดุด้านล่าง — เอกสารการวิจัยวิดีโอการพูดคุยซอฟต์แวร์ต้นแบบ — มีรายละเอียดมากมาย นอกจากนี้ยังมีร่างแผนโดยละเอียดสำหรับการพัฒนา Wikilambda

ดูหน้าข้อเสนอเชิงประวัติศาสตร์เพื่อดูรายการสนทนาเอกสารวิดีโอและข้อเสนอที่เทียบเคียงกันได้

Originally, the project was code-named Wikilambda, derived from Lambda calculus. The name is still referenced in the name of Extension:WikiLambda and in the Wikifunctions logo which contains a lambda character.

จุดเด่น ได้แก่ :

อ่านเพิ่มเติม

แผนโครงการ

  1. บทสรุป: ภาพรวมของแผนการโครงการ
  2. ชื่อ: การพูดคุยเกี่ยวกับชื่อของโครงการ
  3. เป้าหมาย: สิ่งที่เรากำลังพยายามที่จะไปให้ถึงคืออะไร? เป้าหมายหลักและเป้าหมายรอง
  4. องค์กร: ทีมพัฒนาจัดตั้งขึ้นอย่างไร
  5. ความต้องการ: เงื่อนไขโดยรวมที่โครงการต้องการที่จะเติมเต็ม
  6. สถาปัตยกรรม: ภาพรวมว่าส่วนประกอบของโครงการจะทำงานร่วมกันอย่างไร
  7. ส่วนประกอบ: ส่วนประกอบของซอฟต์แวร์แต่ละส่วนที่โครงการต้องการขับเคลื่อน
  8. หน้าที่: หน้าที่ต่าง ๆ ที่ต้องการทำให้เสร็จในโครงการ
(เวอร์ชันหน้าเดียว)

อ้างอิง

  1. ส่วนประกอบใหม่ (ระบุไว้ในแผนพัฒนาสำหรับวิกิพีเดียเชิงนามธรรม) ได้แก่ ส่วนขยายไปยังวิกิสนเทศ, ซึ่งการรวมตัวกัน (ในปีที่สองของโครงการ) ต้องการข้อตกลงของชุมชนวิกิสนเทศ, ก่อนที่จะจัดเก็บ “เนื้อหานามธรรม” ไว้ที่นั่นหรือในวิกิอื่น (เช่นวิกิ Wikifunctions, วิกิฟังก์ชัน, ใหม่ที่พัฒนาขึ้นในส่วนแรกของโครงการหรือวิกิอื่นที่พูดได้หลายภาษา).