Jump to content

การสำรวจสิ่งปรารถนาของชุมชน ค.ศ. 2020

From Meta, a Wikimedia project coordination wiki
This page is a translated version of the page Community Wishlist Survey 2020 and the translation is 93% complete.
การสำรวจความปรารถนาในปี 2020 ได้สิ้นสุดแล้ว...

ทั้งหมด: 72 ข้อเสนอ, 423 ผู้มีส่วนร่วม, 1749 ผู้เห็นด้วย

ดูข้อเสนอแบบสุ่ม

 

ทุกช่วงจะนับเริ่มต้นและสิ้นสุดที่เวลา 18:00 นาฬิกาตามเวลามาตรฐานกรีนิช หรือเวลา 25:00 นาฬิกาตามเวลาประเทศไทย (วันถัดไปเวลา 01:00 นาฬิกา)

  • เสนอ อภิปราย และปรับแก้: 21 ตุลาคม – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
  • เทคนิคชุมชนตรวจทานและจัดแจงข้อคิดเห็น (รวมเวลาที่กำหนดไว้สำหรับการประชุมทางเทคนิคของวิกิมีเดีย): 5 พฤศจิกายน – 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
  • ลงคะแนนให้กับแต่ละหัวข้อ: 20 พฤศจิกายน – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2562
  • ประกาศผล: 6 ธันวาคม พ.ศ. 2562

 

สวัสดีทุกคน!

พวกเรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะมีการสำรวดความต้องการของชุมชนในด้านเทคนิค และครั้งนี้เป็นครั้งที่ห้าแล้ว เมื่อปีที่แล้วเราได้เชิญผู้ใช้เพื่อมาตอบแบบสอบถามโดยเฉพาะ และจัดอันดับสิบอันดับแรกที่ผู้ใช้ตอบการในด้านเทคนิค แต่ในปีนี้จะต่างออกไป โดยเราจะเปิดโอกาสให้กับผู้ใช้ทุกคนได้มีสิทธิ์ตอบคำถาม และเรายังมุ่งไปที่"โครงการนอกเหนือจากวิกิพีเดีย" ซึ่งก็คือวิกิซอร์ซ วิกิตำรา วิกิพจนานุกรม และวิกิคำคม และเคาต้องการ"หัวข้อที่มีผู้ต้องการมากที่สุด 10 อันดับแรก" และเนื่องด้วยมันแตกต่างจากปีอื่น ๆ เป็นอย่างมาก ในปี ค.ศ. 2021 เราอาจกลับไปใช้ระบบเดิม

แล้ว, ทำไมถึงเปลี่ยนล่ะ – แน่นอน เราอาจจะทำตามรูปแบบเดิมในปีถัดไป และในปีนี้ การทำแบบนี้จริง ๆ ก็มีประโยชน์อย่างมากมาย เราสร้างเครื่องมือที่ดีและมีประโยชน์ขึ้นมามากมาย ซึ่งทำให้เราอยากทราบความต้องการและผลกระทบกับชุมชนเพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตาม เป็นธรรมดาที่คำตอบโดยส่วนใหญ่จะเน้นไปที่วิกิพีเดีย ซึ่งทำให้การจัดการกับโครงการเล็ก ๆ เป็นไปได้ยาก ดังนั้น ในปีนี้เราจะเน้นไปที่โครงการเล็ก ๆ เหล่านั้น

นอกจากนี้ เรายังได้เดินทางมาถึงปีที่ 5 แล้ว และเราต้องการให้มีบางอย่างเปลี่ยนแปลง (เหมือนกับการตั้งค่ากลางหรือใครเขียนมัน) ซึ่งเป็นโครงการที่ยอดเยี่ยม ในห้วงเวลาคล้ายกันนี้ เราพยายามทำวิจัยและพัฒนาหลายสิ่งหลายอย่างขึ้นมา จากการสำรวจปีที่แล้ว แต่ถึงอ่างนั้นก็ยังมีสิ่งที่ชุมชนปราถนาอีกหลายอย่างที่เรายังไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ ในปีนี้เราจะทำให้รายการสั้นลงและจะพยายามทำทุกรายการทัั้งจากเมื่อปี 2019 และปีนี้ให้เสร็จลงให้ได้

 

ทีมของเราได้ใช้เวลาพิจารณาแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการสำรวจความต้องการในปีนี้ และในปีนี้เราได้ทำการตัดสินใจดังต่อไปนี้ (ดูด้านล่าง):

  • ทุกคำขอจะต้องไม่ใช่สำหรับโครงการวิกิพีเดียเสมอ (เช่นวิกิซอร์ซ วิกิตำรา วิกิพจนานุกรม หรือวิกิคำคม เป็นต้น)
  • ไม่ใช่สำหรับทุกวิกิ (เช่นคำขอที่ทั่ว ๆ ไปและครอบคลุมทุกโครงการ)
  • ไม่ใช่เพื่อวิกิสนเทศหรือคอมมอนส์
  • ชุมชนของเราจะคัดเลือกคำขอในรอบสุดท้ายเมื่อคำขออยู่ในขอบเขตของชุมชนและตรงตามแนวปฏิบัติเท่านั้น

ทำไมถึงห้ามคำขอที่มีผลกับทุกวิกิทั่วโลก?: ทางเราปรึกษากันหลายรอบในเรื่องนี้ เราเข้าใจว่าคุณอาจจะต้องการที่จะเสนอสิ่งอาจจะส่งผลดีกับทุกวิกิ ในความเป็นจริงคือเราไม่ต้องการที่จะให้คำขอสำหรับทุกวิกินั้นบทบังคำขอจากโครงการเล็ก ๆ เพราะเราจะนำเอาไม่กี่คำขอไปปฏิบัติจริงๆ แต่ถึงกระนั้นเรายังคงมีแผนที่จะจัดการกับคำขอทั่วโลกจากการสำรวจชุมชนของปีที่แล้ว (เช่น การกำหนดเวลาลบรายการที่เฝ้าดู หรือชื่อส่วนในความแตกต่างขณะแก้ไข เป็นต้น)

ทำไมถึงห้ามคำขอที่เกี่ยวกับวิกิสนเทศหรือคอมมอนส์?: เราตัดสินใจยกเว้นวิกิสนเทศและคอมมอนส์ด้วยเหตุผลบางประการ อย่างแรกคือทั้งสองโครงการนี้มีทีมงานหรือทีมเฉพาะที่ได้ทำการปรับปรุงจำนวนมากแล้วในแต่ละปี (โดยทีม MWDE ดูแลวิกิสนเทศ และทีมโครงสร้างข้อมูลแห่งวิกิมีเดีย ดูแลคอมมอนส์) ซึ่งมันต่างกันกับโครงการที่ไม่ใช่วิกิพีเดียเหล่านั้น ซึ่งไม่มีทีมงานที่ทุ่มเทและต้องพยายามดิ้นรนเพื่อรับการสนับสนุนจากทีมพัฒนาในอดีต ต่อมา, วิกิสนเทศและคอมมอนส์มีท่าทีว่าอาจจะกลายเป็นสิ่งธรรมดาในอนาคต ใช่ มันน่าตื่นเต้น แต่มันไม่ได้อยู่ในขอบเขตของเรา เราจึงไม่นำมาไว้ในคำขอนั่นเอง

ดังที่กล่าวมาแล้ว, นี่เป็นการทดลอง และเราหวังเป็อย่างยิ่งว่าเราเรียนรู้อะไรเพิ่มเติมได้อีกมากมาย เราจะสามารถเข้าถึงปัญหาที่มาจากชุมชน เราจะช่วยเหลือและสนับสนุนชุมชนในปัจจุบันและชาววิกิมีเดียทั้งหมด(ตัวเราด้วย!) ให้คิดถึงว่าเราจะสามารถเพิ่มขีดความสามารถของโครงการขนาดเล็กได้อย่างไร นอกจากนี้เรารู้สึกตื่นเต้นที่จะทำให้ความปรารถนาระดับโลกจากสิ่งที่ปรารถนาในปีที่แล้วเป็นจริงขึ้นมา เราขอขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณและเราหวังว่าจะได้เห็นข้อเสนอในเดือนพฤศจิกายนศกนี้ ขอขอบคุณสำหรับทุกคำตอบ!

 

ทีมงานเทคนิคชุมชน เป็นทีมงานของมูลนิธิวิกิมีเดียที่มุ่งเน้นไปยังความต้องการของผู้มีส่วนร่วมในวิกิมีเดีย สำหรับเครื่องมือการดูแลจัดการและการกลั่นกรองที่ดีขึ้น โครงการที่เราจะนำไปดำเนินการจะเป็นโครงการที่ได้รับเลือกโดยชุมชนวิกิมีเดีย โดยผ่านแบบสำรวจรายการสิ่งที่อยากได้ของชุมชนประจำปี

ในแต่ละปี ผู้มีส่วนร่วมในชุมชนวิกิมีเดียจะสามารถทำการส่งข้อเสนอเกี่ยวฟีเจอร์และการปรับปรุงด้านเทคนิคที่ต้องการให้ทีมของเราดำเนินการ หลังจากผ่านไปสองสัปดาห์ ผู้ใช้อื่นจะเข้าร่วมลงคะแนนในข้อเสนอที่พวกเขาเห็นว่าเป็นประโยชน์ที่สุด

กระบวนการสำรวจนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยทีมความปรารถนาด้านเทคนิคของวิกิมีเดียดัตช์แลนด์ ผู้จัดการสำรวจความปรารถนาบนวิกิพีเดียภาษาเยอรมัน กระบวนการสิ่งที่อยากได้ระหว่างประเทศได้รับการสนับสนุนโดยทีมผู้เชี่ยวชาญด้านชุมชนสัมพันธ์

การเสนอคำขอในครั้งนี้จะเป็นปีที่ 5 ดูที่เราได้อะไรจากปีที่แล้ว?

 
สุนัขสวมหมวกซานต้า มาสคอตประจำทีมเทคนิคชุมชน

ช่วงการส่งข้อเสนอจะอยู่ในช่วงสองสัปดาห์แรกของการสำรวจ

ในระยะการส่งข้อเสนอ ผู้มีส่วนร่วมจากทุกโครงการและทุกภาษาจะสามารถส่งข้อเสนอสำหรับเพิ่มฟีเจอร์และการแก้ไขที่คุณต้องการเห็นในปี 2020 ข้อเสนออาจถูกส่งในภาษาใดก็ได้ หาดคุณส่งในภาษาอื่นนอกจากภาษาอังกฤษเช่นภาษาไทย เราจะพยายามแปลเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าใจและลงคะแนนให้คุณได้ง่ายขึ้น

ข้อแนะนำที่นำมาเสนอไม่ควรเป็นงานที่ต่อเนื่องและต้องมีประโยชน์ต่อผู้ใช้วิกิมีเดียโดยรวม ข้อเสนอควรระบุรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • ปัญหาที่คุณต้องการแก้ไขคืออะไร?
  • กลุ่มผู้ใช้ใดที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนี้? (หมายรวมถึงทั้งด้านดีและผลเสีย เช่น ผู้ใช้ทั้งหมด, ผู้ดูแลระบบ, ผู้ใช้ของวิกิซอร์ซ)
  • ปัญหานี้ในปัจจุบันถูกแก้ไขอย่างไร
  • มีแนวทางแก้ปัญหาที่แนะนำหรือไม่? (หากคุณมีแนวทาง)

ข้อเสนอของคุณควรเจาะจงให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ โดยเฉพาะในการระบุปัญหา อย่าเพียงให้ข้อมูลว่า "คุณลักษณะ ก ล้าสมัยแล้ว!" "ต้องการปรับปรุง" หรือ "เจอบั๊กเยอะมาก" มันมีรายละเอียดไม่เพียงพอที่จะดูว่าปัญหาจริง ๆ อยู่ที่มด แล้วใครได้รับผลกระทบจากมันบ้าง แต่ไม่เป็นไรหากคุณไม่ได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาหรือมีวิธีแก้ไม่กี่วิธีที่คิดออก และคุณไม่ทรสบว่าวิธีใดดีที่สุด

การส่งข้อเสนอเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการ ข้อเสนอระยะสองสัปดาห์เป็นเวลาที่ชุมชนสามารถร่วมกันร่างข้อเสนอที่นำเสนอความคิดในหนทางส่วนใหญ่ที่มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จในขั้นตอนการลงคะแนน เมื่อมีการส่งข้อเสนอ ทุกคนจะได้รับเชิญไปแสดงความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าว และช่วยทำให้มันดีขึ้น ถามคำถาม และเสนอการเปลี่ยนแปลง ข้อเสนอที่ซ้ำกันสามารถนำมารวมกัน ข้อเสนอที่กว้างมากควรจะแยกออกเป็นความคิดที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น โดยมีเป้าหมายคือการสร้างข้อแนะนำที่ดีที่สุดสำหรับโครงการ

ผู้แจ้งข้อเสนอที่ควรคาดหวังที่จะใช้งานในการอภิปรายดังกล่าว และช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกัน เพราะเรากำลังจะจำกัดที่สามข้อเสนอต่อคน หากคุณโพสต์มากกว่าสามข้อเสนอ เราก็จะขอให้คุณลดลงเหลือเพียงสามเพื่อนำสู่ไอเดียที่ดีที่สุดของคุณ !

และผู้ใช้ลงทะเบียนแล้วเท่านั้นที่สามารถสร้างข้อแนะนำได้และผู้ใช้เหล่านั้นก็สามารถปักหมุดเพื่อติดตามการตอบกลับและตอบคำถามต่าง ๆ เหมือนกับช่วงลงคะแนน คุณควรเป็นผู้ใช้ที่ยังแอคทีฟอยู่ (มีหลายการแก้ไขเมื่อไม่นานมานี้) และมีประวัติการแก้ไขในมากกว่า 1 โครงการของวิกิมีเดีย ถ้าคุณไม่มีคุณสมบัติเหล่านี้หรือเสนอไปแล้วสามข้อเสนอแนะ คุณสามารถให้ผู้ใช้อื่นเสนอแทนคุณได้

อีกประการหนึ่ง ข้อเสนอที่เรียกร้องให้ถอดถอนหรือปิดการใช้งานคุณลักษณะของทีมสร้างคุณลักษณะของมูลนิธิวิกิมีเดียจะอยู่นอกขอบเขตที่เป็นไปได้ของชุมชนเทคนนิคแห่งวิกิมีเดีย และจะไม่ได้รับการดำเนินการไปยังขั้นตอนการลงคะแนน

 

ได้ คุณอาจจะส่งข้อเสนอเดียวกันได้หากครั้งที่แล้วไม่ได้รับคะแนนเพียงพอ และยังคงมีหวังเสมอ

หากคุณเลือกที่จะคัดลอกข้อเสนอจากปีที่ผ่าน ๆ มาเป็นข้อเสนอใหม่ เราหวังว่าคุณจะ "ปรับ" ข้อเสนอนั้น หมายความว่าคุณอาจจะให้การมีส่วนร่วมในกาาอภิปรายเกี่ยวกับข้อเสนอนั้น และยอมรับว่าจะทำให้ข้อเสนอแข็งแกร่งขึ้นเมื่ออยู่ในช่วงการลงคะแนน อย่างที่เรากล่าวด้านบน เรามีข้อจำกัดหนึ่งบุคคลต่อสามข้อเสนอ และการเสนอซ้ำจากปีก่อน ๆ จะถือเป็นหนึ่งในสามนั้นด้วย

จะมีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งหากคุณให้ลิงก์ไปยังการอภิปรายก่อนหน้า แต่กรุณาอย่าคัดลอกการอภิปรายจากครั้งที่แล้วนั้นมาด้วยทั้งหมด หากมีประเด็นที่ดีที่ผู้คนพูดคุยกันแล้วให้ใส่ร่วมในข้อเสนอส่วนข้อเสนอแนะหรือกรณีข้อสังเกตไว้ในข้อเสนอใหม่ด้วย

 

หลังจากผ่านช่วงการเพิ่มการแนะนำใหม่แล้ว เราจะใช้เวลาพักนึงเพื่อตรวจทานข้อแนะนำต่าง ๆ ก่อนที่ช่วงการลงคะแนนจะเริ่มขึ้น

ผู้ใช้ที่ยังแอคทีฟอยู่สามารถช่วยตรวจทานและลงคะแนนให้กับข้อแนะนำที่ต้องการความข่วยเหลือ คุณสามารถลงคะแนนให้กับข้อเสนอแนะกี่อันก็ได้ที่คุณเห็นด้วย และเพื่อความเท่าเทียม เฉพาะผู้ใช้ที่ลงทะเบียนเท่านั้นที่ลงคะแนนได้ และบัญชีผู้ใช้ใหม่ก็อาจไม่เป็นที่ยอมรับและโมฆะได้

การลงคะแนนที่เป็นบวก(เช่น เห็นด้วยหรือเป็นด้วยอย่างยิ่ง) ในขั้นสุดท้ายจะเรียงลำดับข้อแนะนำจากผลการลงคะแนนมากที่สุดลงไป ถ้าหากคุณเป็นเจ้าของข้อแนะนำนั้น คุณจะถูกนับในการนับคะแนนโดยปริยายอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม การอภิปรายที่มีชีวิตชีวาจะได้รับการสนับสนุนในระหว่างขั้นตอนการลงคะแนน และหากคุณต้องการที่จะโพสต์ลงคะแนนเสียงคัดค้านหรือเป็นกลางร่วมกับการแสดงความคิดเห็น ก็สามารถทำได้ตามต้องการ อภิปรายเหล่านี้สามารถช่วยผู้คนในการสร้างความเอาใจใส่ของพวกเขาต่อสิ่งที่พวกเขาต้องการที่จะลงคะแนนเสียง โดยการอภิปรายยังให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อเป็นแนวทางในการทำงานที่จะเกิดขึ้นตลอดทั้งปี

จำนวนที่เหมาะสมของการถามสารทุกข์สุขดิบเป็นที่ยอมรับ คุณมีโอกาสที่จะปล่อยไอเดียของคุณเพื่อคนจำนวนมากที่คุณสามารถเข้าถึง อย่าลังเลที่จะเผยต่อคนอื่น ๆ ในโครงการ, โครงการวิกิ หรือกลุ่มผู้ใช้ของคุณ ซึ่งนี่ไม่ควรเกี่ยวข้องกับหุ่นเชิดอย่างชัดเจน หรือรบกวนคนที่จะลงคะแนนเสียง หรือการเปลี่ยนแปลงคะแนนเสียงของพวกเขา แต่หากมีเจตนาดี "ที่ออกไปจากการลงคะแนนเสียง" นั้นไม่เป็นไรอย่างแน่นอน

 

แต่ละข้อเสนอต้องเข้าเกณฑ์ดังต่อไปนี้

  • ข้อเสนอต้องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคนิค และไม่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายหรือสังคม
  • ข้อเสนอต้องเกี่ยวกับปัญหา ไม่ได้มีไว้สำหรับการสอบถามการแก้ปัญหาเฉพาะจุด
  • ข้อเสนอต้องเป็นปัญหาที่ถูกพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว และไม่เป็นการนำหัวข้ออื่นที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามารวมด้วย
  • ข้อเสนอนั้นจะต้องไม่อยู่ในแผนการดำเนินงานของทีมอื่น หรือไม่เคยถูกปัดตกโดยทีมอื่น
  • ข้อเสนอยังไม่เคยถูกปัดตกโดยทีมเทคนิคชุมชนหรือทีมอื่น ๆ
  • ข้อเสนอต้องอยู่ในขอบเขตของทีมเทคนิคชุมชน

ทีมเทคนิคชุมชนอาจปัดตกข้อเสนอหากไม่เข้าเกณฑ์ดังต่อไปนี้:

 

การเรียงลำดับตามจำนวนการลงคะแนนเห็นด้วยนั้นเป็นเพียงการจัดลำดับความสำคัญของข้อเสนอ และทีมเทคนิคชุมชนมีหน้าที่รับผิดชอบในข้อเสนอที่ได้รับความนิยม ในการทำเช่นนั้น เราสืบสวนความปรารถนาที่ติดอันดับทั้งหมด โดยจะตรวจสอบทั้งแนวโน้มความเสี่ยงทางเทคนิคและแนวโน้มความเสี่ยงด้านสังคมและทางนโยบายเช่นกัน

การลงคะแนนไม่เห็นด้วยและเป็นกลางนั้นมีประโยชน์เป็นอย่างมากในการพิจารณาด้านลบ สำหรับข้อเสนอที่มีข้อขัดแย้ง เราจะปรับจำนวนการลงคะแนนให้เท่าเทียมกันกับการตรวจทานเชิงฉันทามติ กรณีเช่นนี้เช่นเมื่อครั้งปี 2015 มีข้อเสนอหนึ่งเกี่ยวกับการ "เพิ่มการเฝ้าดูผู้ใช้" ซึ่งได้รับการลงคะแนนเห็นด้วยไปเป็นจำนวนมาก แต่ก็ได้รับการให้เหตุผลเชิงลบที่ดีจากด้านที่ไม่เห็นด้วย เรารับฟังทั้งสองด้านและได้ทำการตัดสินใจว่าจะติดตามต่อหรือไม่ไปแล้ว

As an example, this worked in the 2015 survey: The wish to "add a user watchlist" received a lot of votes but also some heartfelt Oppose votes. Community Tech listened to all sides, and made a decision on whether to pursue the project or not.

 

The 2020 Community Wishlist Survey is now complete! We want to thank everyone for their participation in this year’s survey. It was a very civil and smooth process, and we appreciate all of the help that we received. Now, we’re delighted to announce the top 5 wishes from the survey:

  1. Improve export of electronic books (Wikisource)
  2. New OCR tool (Wikisource)
  3. Migrate Wikisource specific edit tools from gadgets to Wikisource extension (Wikisource)
  4. Inter-language link support via Wikidata (Wikisource)
  5. Insert attestation using Wikisource as a corpus (Wiktionary)

Here’s what comes next: We’ll begin analyzing these five wishes after the new year. During our analysis, we’ll consider various factors, including possible dependencies and risks. Once we’ve completed this analysis, we’ll determine which wish to address first. We’ll create a project page on Meta-Wiki for that wish, which will outline the project vision. We’ll also ping all the wish voters, so everyone can share their suggestions and questions on the Talk page. From that point, updates will be found on the project page. The first project page should be launched in the next few months (no set date yet), but you can visit the Community Tech page for updates in the meantime.

As a team, our goal is to address every top wish in the Community Wishlist Survey. This means that we analyze each wish and determine if it’s workable (i.e., within scope, no major conflicts with other teams, etc). In many cases, the wish is workable. We then continue with the research and planning, followed by development, testing, and deployment. However, we sometimes identify significant issues or risks associated with a wish. In such cases, we investigate alternatives and ways to mitigate the risks. As a last resort, we sometimes decline certain wishes, but only after we rule out other options. Above all, we make sure to address each wish and share our findings with the community.

As this year draws to a close, we want to thank you, again, for participating in the survey! It was a fantastic experience for the team (and we hope for you too!). After the new year, we’ll begin reaching out with plenty of questions, ideas, and updates. We’re excited to begin the work to improve Wikisource and Wiktionary. Until then, we wish you a happy new year, and we look forward to collaborating with all of you!