คณะทำงานพัฒนาความเป็นผู้นำ/วัตถุประสงค์และโครงสร้าง

From Meta, a Wikimedia project coordination wiki
This page is a translated version of the page Leadership Development Working Group/Purpose and Structure and the translation is 98% complete.
Outdated translations are marked like this.


1. ทำไมต้องตั้งคณะทำงาน? ทำไมตอนนี้?

ตามคณะทำงานสร้างขีดความสามารถของกลยุทธ์ขบวนการ การสร้างหน่วยที่ขับเคลื่อนโดยชุมชนสามารถรับประกันได้ว่ากิจกรรมการพัฒนาความเป็นผู้นำนั้น “ได้รับการพัฒนาตามคำแนะนำของกลยุทธ์ขบวนการ ซึ่งได้รับการประเมินอย่างต่อเนื่องในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง และปรับปรุงโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อชุมชนรวมถึงทิศทางเชิงกลยุทธ์”

ทีมพัฒนาชุมชนตระหนักดีว่ามีงานต่อเนื่องจำนวนมากเกี่ยวกับการกำกับดูแลขบวนการและการตัดสินใจ ซึ่งรวมถึงเอกสารการกำหนดกรอบของกฎบัตรขบวนการ ในที่สุด คณะทำงานนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงหรือแทนที่เมื่อสภาโลกที่จัดตั้งขึ้นอยู่ในฐานะที่จะกำหนดแนวทางที่ดีที่สุดในประเด็นเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีงานต่อเนื่อง และทีมพัฒนาชุมชนเชื่อว่าคณะทำงานจะให้คำแนะนำที่สำคัญ ไม่เพียงแต่งานเท่านั้น แต่ยังรวมถึงกลุ่มชุมชนตามที่ต้องการอีกด้วย ซึ่งจะช่วยให้เราทุกคนทำงานได้ดีขึ้นในขณะนี้ ในขณะที่กำหนดกระบวนการ และวิถีทางระยะยาว

คณะทำงานพัฒนาความเป็นผู้นำส่งเสริมการตัดสินใจอย่างเท่าเทียมกัน โดยจะสร้างฟอรัม -- ชุมชนแห่งการปฏิบัติและศูนย์กลางของความรู้และประสบการณ์ คณะทำงานนี้จะได้รับอำนาจในการตัดสินใจตามความเหมาะสม เมื่อมีการกำหนดการจัดสรรทรัพยากร รวมถึงแง่มุมอื่น ๆ ของการกระจายอำนาจและการแบ่งปัน คณะทำงานจะจัดทำข้อเสนอแนะ, แนวทาง และข้อเสนอ ข้อเสนอสำหรับคณะทำงานนี้ตระหนักดีว่ามีพื้นฐานที่ยังคงต้องทำเพื่อให้ความคิดริเริ่มในการดำเนินการประสบความสำเร็จ ซึ่งรวมถึงการมีคำจำกัดความร่วมกันของความเป็นผู้นำ และการสร้างแผนพัฒนาความเป็นผู้นำ โดยแผนนี้จะตอบคำถามที่สำคัญ เช่น ใครเป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนาภาวะผู้นำ? ลำดับความสำคัญคืออะไร? และมีระบบสนับสนุนอะไรบ้างสำหรับผู้นำ?

2. คณะทำงานจะทำอย่างไร?

นี่เป็นข้อเสนอที่จัดทำโดยการพัฒนาชุมชน โดยอิงจากการทบทวนงานวิจัยและการสนทนาที่ผ่านมา[1] เมื่อคณะทำงานเริ่มทำงาน คณะทำงานจะทบทวนงานที่เสนอและทำการเปลี่ยนแปลงตามความจำเป็น

ก. ร่างคำจำกัดความของการเป็นผู้นำร่วมกัน

เหตุใดขบวนการดังกล่าวจึงต้องการคำจำกัดความของความเป็นผู้นำร่วมกัน?

  • ปัจจุบัน มีความเข้าใจผิดกันบ่อยครั้งเกี่ยวกับคำว่า "ผู้นำ" และรูปแบบใดที่สนับสนุนการเติบโตของ "ความเป็นผู้นำ" ในชุมชน[2]
  • การไม่มีคำจำกัดความร่วมกันของ “ผู้นำ” และ “ความเป็นผู้นำ” อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้

การร่างคำจำกัดความที่ใช้ร่วมกันอาจเกี่ยวข้องกับอะไร?

  • การสร้างอนุกรมวิธาน หรืออภิธานศัพท์ที่มีการกำหนดประเภทการเป็นผู้นำ, ทักษะการเป็นผู้นำหลัก และเส้นทางการเป็นผู้นำ
  • การสร้างความตระหนักเกี่ยวกับคำจำกัดความเพื่อให้แน่ใจว่าบริบททางวัฒนธรรมที่แตกต่างกันมีความเข้าใจในความเป็นผู้นำเหมือนกัน[3]
  • ช่วยปลูกฝังชุมชนอาสาสมัครที่มีความสนใจในการเป็นผู้นำ - ไม่ว่าจะเป็นผู้นำที่มีศักยภาพ, ผู้นำที่มีอยู่ หรือนักพัฒนาผู้นำ[3]

ต้องกำหนดอะไรบ้าง?

  • ผู้นำ: คำจำกัดความที่เป็นประโยชน์ของ “ผู้นำ” ในบริบทของวิกิมีเดียคืออะไร?[4][5]
  • ความเป็นผู้นำที่ดี: ผู้นำที่ดีคืออะไร?
  • ทักษะความเป็นผู้นำ: ทักษะ, คุณสมบัติ และ/หรือค่านิยมของผู้นำคืออะไร?
  • เส้นทางความเป็นผู้นำ: มีเส้นทางหรือบทบาทความเป็นผู้นำอะไรบ้างในขบวนการนี้? ต้องสร้างเส้นทางความเป็นผู้นำแบบไหน? เส้นทางการเป็นผู้นำใดบ้างที่ต้องได้รับการเสนอชื่อและเป็นที่ยอมรับ?

เกิดอะไรขึ้นกับฉบับร่างนี้?

  • คำจำกัดความฉบับร่างจะถูกวางไว้ในเมทาวิกิ รวมถึงเปิดให้ตรวจสอบและปรับแต่ง

ข. สร้างแผนพัฒนาภาวะผู้นำ

ทำไมขบวนการจึงต้องมีแผนพัฒนาความเป็นผู้นำ?

  • ผู้นำถือเป็นปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญสำหรับโครงการใด ๆ ขบวนการของเราไม่มีโครงสร้างที่เป็นหนึ่งเดียวในการสร้างทักษะความเป็นผู้นำอย่างเป็นระบบ รวมทั้งการปลูกฝังผู้นำชุมชนใหม่[6]

แผนพัฒนาภาวะผู้นำอาจรวมถึงอะไรบ้าง? (นี่ไม่ใช่รายการทั้งหมด)

  • เป้าหมายและวิสัยทัศน์: ทิศทางและผลลัพธ์ของการพัฒนาภาวะผู้นำเป็นอย่างไร? อะไรคือเป้าหมายที่เป็นรูปธรรม ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ?
  • บทบาทและความรับผิดชอบ: ใครเป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนา, ให้ทุน, สนับสนุน และประเมินผู้นำ? จากที่ไหน และใครสามารถสร้างความคิดริเริ่มได้?
  • การเข้าถึงบทบาทหรือเส้นทางการเป็นผู้นำ: ผู้นำได้รับการส่งเสริมและระบุว่าเป็นผู้นำอย่างไร? ผู้คนเข้าถึงบทบาทหรือเส้นทางการเป็นผู้นำได้อย่างไร? จะส่งเสริมความเป็นผู้นำที่หลากหลายมากขึ้นได้อย่างไร?
  • ผู้นำที่มีคุณค่า: ผู้นำรู้ได้อย่างไรว่าพวกเขามีค่า? ประโยชน์ของการเป็นผู้นำคืออะไร? [7][8][9] 
  • การระบุความต้องการทักษะความเป็นผู้นำและทรัพย์สิน: การประเมินความต้องการสามารถดำเนินการได้อย่างไรเพื่อระบุทักษะความเป็นผู้นำที่จำเป็น?[10] ทรัพย์สินในการพัฒนาความเป็นผู้นำที่มีอยู่สามารถรวบรวมและแบ่งปันได้อย่างไร?[11][12][13]
  • แนวทางการพัฒนาความเป็นผู้นำ: ผู้นำประเภทต่างๆ ต้องการการสนับสนุนในรูปแบบต่าง ๆ หรือไม่? ใครควรได้รับการสอนทักษะความเป็นผู้นำ? [14] วิธีใดที่สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาผู้นำได้?[15][16]
  • การประเมินผล: สามารถวัดการพัฒนาความเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จได้อย่างไรและเมื่อไหร่?[17]
  • ระบบสนับสนุน: ผู้นำให้การสนับสนุนแบบใด? จะสนับสนุนความยั่งยืนในระยะยาวของผู้นำได้อย่างไร?
  • ผู้มาใหม่: ผู้มาใหม่ได้รับการสนับสนุนอย่างไรให้ค้นพบและพิจารณาเส้นทางความเป็นผู้นำในขบวนการนี้?
  • เงินทุน: จะสนับสนุนการพัฒนาความเป็นผู้นำได้อย่างไร? กองทุนใช้ทำอะไรได้ดีที่สุด?
  • ลำดับความสำคัญและการเปิดตัว: ความสามารถในการเป็นผู้นำ “หลัก” คืออะไร?[18] มีการประเมินความคิดริเริ่มหลายอย่างเพื่อจัดลำดับความสำคัญ หรือแบ่งปันทรัพยากรที่มีจำกัดอย่างไร? ความคิดริเริ่มในการพัฒนาความเป็นผู้นำใดบ้างที่ได้รับการจัดลำดับความสำคัญ? การจัดลำดับความสำคัญนี้แตกต่างกันอย่างไรในบริบทต่าง ๆ? รายการลำดับความสำคัญของการลงทุนเพื่อการพัฒนาความเป็นผู้นำอาจมีลักษณะอย่างไรสำหรับภูมิภาคหรือบริบท?

ค. แนวทางการดำเนินการพัฒนาภาวะผู้นำ

หลังจากร่างแผนพัฒนาภาวะผู้นำแล้ว คณะทำงานจะเปลี่ยนจุดเน้นเป็นการดำเนินการ ซึ่งจะรวมถึงการให้คำปรึกษาและการประเมินการดำเนินการที่ทำโดยมูลนิธิวิกิมีเดีย และอาจขยายไปสู่บทบาทการให้คำปรึกษาสำหรับคณะทำงานอาสาสมัครและสาขา

ในขั้นตอนนี้ คณะทำงานอาจตัดสินใจดำเนินการตามลำดับความสำคัญในการพัฒนาความเป็นผู้นำบางส่วน ตัวอย่างผลงานของคณะทำงาน ได้แก่:

  • ดำเนินการประเมินความต้องการระดับโลก/ระดับท้องถิ่นเพื่อทำความเข้าใจช่องว่างทักษะความเป็นผู้นำ
  • การสร้าง และบำรุงรักษาฐานข้อมูลกลางของทรัพยากรที่มีอยู่
  • การสร้างโปรแกรม: โปรแกรมพี่เลี้ยง, โปรแกรมการฝึกอบรม, แพลตฟอร์มเทคโนโลยี
  • การจัดหาทรัพยากร (เอกสาร, การเชื่อมต่อเครือข่าย ฯลฯ) ให้แก่สาขาที่สนใจจัดการฝึกอบรมผู้นำในท้องถิ่น หรือช่วยให้พวกเขาเข้าใจกระบวนการมอบทุนที่มีอยู่

3. คณะทำงานมีรูปแบบและโครงสร้างอย่างไร?

ก. องค์ประกอบของคณะทำงาน

  • สมาชิกมากถึง 12 คน กลุ่มขนาดนี้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ขนาดทั้งหมดอาจขึ้นอยู่กับความสนใจของบุคคลที่ผ่านการรับรอง
  • สมาชิกจะประกอบด้วยอาสาสมัครรายบุคคล อาสาสมัคร/เจ้าหน้าที่สาขา และเจ้าหน้าที่มูลนิธิวิกิมีเดีย (ตัวแทนของมูลนิธิวิกิมีเดียจะเป็นหนึ่งคนจากทีมพัฒนาชุมชน)
  • มุ่งเป้าไปที่บุคคลอย่างน้อยหนึ่งคนจากแต่ละภูมิภาค ได้แก่: ตะวันออกกลางและแอฟริกา; สมาคมเอเชียใต้เพื่อความร่วมมือระดับภูมิภาค (SAARC); เอเชียตะวันออก, ตะวันออกเฉียงใต้ และแปซิฟิก (ESEAP); ลาตินอเมริกา (LATAM) และแคริบเบียน; สหรัฐ และแคนาดา; ยุโรปเหนือและตะวันตก; ยุโรปกลางและตะวันออก (CEE) และเอเชียกลาง
  • ตั้งเป้าไปที่กลุ่มที่หลากหลายในหลายตัวแปร ได้แก่:
    • ภาษา
    • เพศ
    • ชุมชนเกิดใหม่ / ชุมชนที่จัดตั้งขึ้น
    • โครงการวิกิ
    • เสียงที่ยังไม่รวมอยู่ในการสนทนา
    • บทบาทปัจจุบันและในอดีตในองค์กรหรือชุมชน (ผู้มีส่วนร่วม, เจ้าหน้าที่, คณะกรรมการ, พนักงาน, คณะกรรมการ ฯลฯ)

* เมื่อตั้งคณะทำงานแล้ว กลุ่มจะมีความยืดหยุ่นในการกำหนดว่าจะทำงานร่วมกันอย่างไร ซึ่งรวมถึงการสร้างกลุ่มย่อยระดับภูมิภาคหรือภาษา

ข. ทักษะและประสบการณ์ของสมาชิก

  • สมาชิกจะมีความรู้และประสบการณ์ในการทำงานกับการเสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาภาวะผู้นำ ประสบการณ์นี้สามารถมาจากภายในหรือภายนอกขบวนการ บทบาทที่สมาชิกอาจเคยมีมาก่อนหน้า (อย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ) ได้แก่: ผู้ฝึกสอน, นักออกแบบการเรียนรู้, ผู้อำนวยความสะดวก, ผู้จัดงาน, โค้ช, ผู้ให้คำปรึกษา, นักการศึกษา หรือผู้นำ
  • มีความสนใจอย่างมากในการพัฒนาบุคลากร, การเคลื่อนไหวอย่างยั่งยืนและการเติบโต รวมถึงการวางแผนเชิงกลยุทธ์
  • เชื่อถือได้, ตอบสนอง และมุ่งมั่น
  • ทักษะการสื่อสาร และการทำงานร่วมกันที่มีประสิทธิภาพ
  • ความสามารถในการทำงานข้ามวัฒนธรรม, การทำงานเป็นกลุ่ม
  • ภาษา: สมาชิกไม่จำเป็นต้องพูดภาษาอังกฤษคล่อง สามารถให้การสนับสนุนการแปลตามความจำเป็น

ค. กำหนดเวลาและข้อผูกมัดด้านเวลา

  • งานคณะทำงานจะเริ่มประมาณเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565
  • การมอบหมายด้านเวลาคือประมาณ 5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (ซึ่งรวมถึงการประชุมสดและงานไม่ประสานเวลา) การมอบหมายด้านเวลาอาจแตกต่างกันไปในแต่ละสัปดาห์ ขึ้นอยู่กับขั้นตอนของกระบวนการ
  • จำกัดระยะเวลา 1 ปี โดยสามารถเลือกสมัครใหม่ได้ ขีดจำกัดระยะนี้ตั้งขึ้นเพื่อให้ผู้คนสามารถออก และหลีกเลี่ยงความเหนื่อยหน่ายได้

ง. บทบาทและความรับผิดชอบ

  • คณะทำงานจะทำหน้าที่เป็นคณะทำงานและคณะกรรมการที่ปรึกษา คณะทำงานดังกล่าวมีหน้าที่คิดไอเดีย, ร่างแผน, ดำเนินงานที่ตกลงกันไว้ และงานอื่น ๆ ที่จำเป็น
  • ทีมพัฒนาชุมชนจะสนับสนุนคณะทำงานโดยจัดให้มีผู้อำนวยความสะดวก, การสนับสนุนการแปล, การสนับสนุนด้านเอกสาร และโอกาสในการพัฒนาทักษะ ทีมพัฒนาชุมชนดังกล่าวเป็นผู้สนับสนุนและผู้เปิดใช้งาน มากกว่าผู้มีอำนาจตัดสินใจและนักพัฒนา

จ. การคัดเลือกสมาชิก

  • กระบวนการ
    • ขั้นตอนการสมัครจะได้รับการใช้ ขอเชิญสมาชิกชุมชนที่สนใจและมีคุณสมบัติเหมาะสมสมัคร
    • ใบสมัครจะได้รับการตรวจสอบและให้คะแนนโดยไม่เปิดเผยตัวโดยคณะผู้อภิปราย ซึ่งรวมถึงเจ้าหน้าที่มูลนิธิวิกิมีเดียที่มีพื้นฐานด้านการเรียนรู้หรือการพัฒนาความเป็นผู้นำ และอาสาสมัครที่มีประสบการณ์ในงานนี้ ส่วนสมาชิกของคณะกรรมการจะได้รับการระบุแบบสาธารณะ
  • หลักเกณฑ์การคัดเลือกสมาชิก
    • ทักษะและประสบการณ์: มีพื้นฐานและความสามารถในการเสริมสร้างขีดความสามารถและการพัฒนาความเป็นผู้นำตลอดจนคุณสมบัติอื่น ๆ ที่ระบุไว้ก่อนหน้า
    • แรงจูงใจ : สาธิตเหตุผลที่ชัดเจนในการเข้าร่วมคณะทำงาน
    • ความมุ่งมั่น : ความสามารถในการปฏิบัติจริง, ทางจิตใจ และอารมณ์ อุทิศเวลาและความพยายามในการทำงานเป็นระยะเวลา 1 ปี
    • ความตระหนักในตนเอง: ความสามารถในการสะท้อนแรงจูงใจ, จุดแข็ง และความท้าทายของพวกเขา
    • ความหลากหลาย: การเป็นตัวแทนในภาษา, เพศ, ภูมิภาค, ประสบการณ์, บทบาทการเคลื่อนไหว และชุมชน
    • บุคคลที่อยู่ภายใต้การคว่ำบาตรโดยมูลนิธิวิกิมีเดีย หรือโดยชุมชนวิกิมีเดียใด ๆ ไม่มีสิทธิ์ การคว่ำบาตรจะรวมถึงการแบน (ทั้งหมดหรือบางส่วน) หรือบล็อกที่ใช้งานอยู่ (ทั้งหมดหรือบางส่วน) ซึ่งการคว่ำบาตรและคำเตือนก่อนหน้านี้ไม่เป็นอุปสรรคต่อการพิจารณา
  • เส้นเวลาการเลือก
    • มีนาคม – เมษายน พ.ศ. 2565: เปิดรับสมัคร
    • เมษายน พ.ศ. 2565: ใบสมัครได้รับการตรวจสอบโดยไม่เปิดเผยตัวตนโดยคณะผู้ตอบแบบสำรวจ
    • ต้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565: คณะทำงานประกาศ
    • ปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565: คณะทำงานเริ่มทำงาน

จ. ผลประโยชน์และค่าตอบแทน

  • ค่าตอบแทน 100 ดอลลาร์ทุก 2 เดือนเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วม โดยสามารถใช้เงินจ่ายค่าดูแลเด็ก, อินเทอร์เน็ต, ค่าเดินทาง และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ทำให้อาสาสมัครเป็นไปได้
  • โอกาสในการพัฒนาทักษะ: สมาชิกในคณะทำงานจะสามารถเข้าถึงโอกาสในการสร้างทักษะ รวมถึงการฝึกอบรมในหัวข้อต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงความขัดแย้งและการสื่อสารที่ไม่รุนแรง ผ่านการทำงานในคณะทำงาน สมาชิกจะได้เรียนรู้ (โดยการทำ) เกี่ยวกับกระบวนการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม

ฉ. กระบวนการทำงาน

  • คณะทำงานจะทำงานในแบบเร่งรัด โดยสิ่งนี้เกี่ยวข้องกับการพัฒนางานทีละน้อย และทำการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งตามคำติชม
  • คณะทำงานจะได้รับการสนับสนุนจากผู้อำนวยความสะดวกเพื่อสนับสนุนการทำงานร่วมกัน, การตัดสินใจ และการจัดการกระบวนการ
  • คณะทำงานจะรวบรวมข้อเสนอแนะของชุมชนตลอดระยะเวลาการทำงานเพื่อให้แน่ใจว่ามีการแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม ซึ่งสิ่งนี้ยอมรับว่าสมาชิกในชุมชนที่ค่อนข้างเล็กไม่สามารถเป็นตัวแทนของขบวนการทั้งหมดได้

ช. สนับสนุนคณะทำงาน

  • การอำนวยความสะดวก: คณะทำงานจะมีผู้อำนวยความสะดวกที่จะสนับสนุนกลุ่มในการทำงานร่วมกันอย่างราบรื่น, การตัดสินใจ, การออกแบบกระบวนการ และการจัดการโครงการ
  • เอกสารประกอบ: ผู้อำนวยความสะดวกและทีมพัฒนาชุมชนจะสนับสนุนกลุ่มในการจัดทำเอกสารการทำงาน
  • การแปล: การแปลในขฯะเดียวกัน และ/หรือเป็นลายลักษณ์อักษรจะมีให้ตามความจำเป็น
  • การประสานงานและการสื่อสาร: ทีมพัฒนาชุมชน ตลอดจนทีมกลยุทธ์ขบวนการและธรรมาภิบาลจะให้การสนับสนุนการประสานงาน, กิจกรรมสู่ภายนอก และการสื่อสาร
  • การพัฒนาทักษะ: จะมีการฝึกอบรมเกี่ยวกับทักษะที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง

  1. ดูภาคผนวก: ได้ทำอะไรไปแล้วบ้าง?
  2. หน้าพูดคุยเพื่อการพัฒนาความเป็นผู้นำ: รูปแบบการเป็นผู้นำที่หลากหลาย
  3. a b กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ติดตามผลการสนทนา: การประเมินความสามารถเฉพาะถิ่น
  4. ดูภาคผนวก: คำจำกัดความของความเป็นผู้นำ สำหรับคำจำกัดความที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้
  5. หน้าพูดคุยเพื่อการพัฒนาความเป็นผู้นำ: คำถามหรือความคิดเห็นอื่น ๆ
  6. สุขภาพชุมชน อาร์3: การสร้างความเป็นผู้นำแห่งอนาคต
  7. หน้าพูดคุยเพื่อการพัฒนาความเป็นผู้นำ: ขบวนการกับมูลนิธิ
  8. ความร่วมมือ อาร์11: ลงทุนในศักยภาพความเป็นผู้นำของสมาชิกในชุมชน
  9. โครงการเรียนรู้ขบวนการและความเป็นผู้นำ: สิ่งที่เราเรียนรู้
  10. อีเวนต์ที่ตามมา/คลัสเตอร์ซี
  11. ดูงานที่เกี่ยวข้องจากการแลกเปลี่ยนความสามารถ โดยเป็นโครงการชุมชนที่กำลังดำเนินการอยู่ซึ่งกำลังนำแพลตฟอร์มที่ตรงกับความต้องการในการสร้างขีดความสามารถด้วยทรัพย์สิน
  12. February 2021 Follow-Up Conversations: Local capacity assessment
  13. February 2021 Follow-Up Conversations: Leadership development in the movement
  14. สรุปบทสนทนาขบวนการ พ.ศ. 2563/ภาษาอาหรับ
  15. ดูภาคผนวก: แนวคิดในการดำเนินการ
  16. รายงานการสนทนาชุมชนเดือนกรกฎาคมและต้นเดือนสิงหาคม: การสร้างขีดความสามารถ
  17. การสร้างขีดความสามารถ อาร์6: การประเมินการสร้างขีดความสามารถ
  18. การสร้างขีดความสามารถ อาร์1: การสร้างขีดความสามารถสำหรับการสร้างขีดความสามารถ