Wikimedians in Thailand/Wikiclubs in schools/th

From Meta, a Wikimedia project coordination wiki
Other languages:

โครงการ Wikiclubs in schools คือโครงการหนึ่งของวิกิมีเดียประเทศไทย โดยมีเป้าหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการใช้วิกิพีเดียภายในสถานศึกษาให้กับนักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ และบุคคลจากสถานศึกษาต่างๆ ปัจจุบันโครงการอยู่ในระยะวางแผนและมีกำหนดการที่จะเริ่มภายในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555

ที่มาและความสำคัญ[edit]

วิกิพีเดียเป็นหนึ่งในโครงการของมูลนิธิวิกิมีเดียที่ได้รับความนิยมสูงสุด และเป็นเว็บไซต์ที่คนทั่วโลกเข้าถึงมากที่สุดอันดับที่ 6[1] และเว็บไซต์ที่คนไทยเข้าถึงมากที่สุดอับดับที่ 11[2] ด้วยสถิติดังกล่าวนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาต่างๆส่วนใหญ่ที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ย่อมเคยใช้งานวิกิพีเดียมาบ้างแล้วไม่มากก็น้อย[3] โดยส่วนใหญ่อาจเป็นการเข้าใช้งานเพียงผิวเผินซึ่งเข้าผ่านเสิรช์เอนจิน เช่น Google เป็นหลัก[4] นอกจากการใช้งานเพียงผิวเผินแล้ว ยังมีปัญหาการคัดลอกงานจากวิกิพีเดียไปส่งเป็นการบ้าน การยึดเอาวิกิพีเดียใช้แทนแหล่งข้อมูลชั้นต้นทำให้ได้ข้อมูลที่ไม่ทันสมัยหรือไม่ถูกต้อง รวมถึงการก่อกวนวิกิพีเดียจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

โครงการ Wikiclubs in schools จึงได้รับการจัดตั้งจากชุมชนวิกิพีเดียเพื่อให้เกิดการพัฒนาดังกล่าว ด้วยการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิกิพีเดีย เช่น ชุมนุม ชมรม การประกวดแข่งขัน เป็นต้น เพื่อให้นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาต่างๆมีความเข้าใจที่ดีเกี่ยวกับวิกิพีเดียและสามารถใช้งานวิกิพีเดียได้อย่างสร้างสรรค์

ระดับมัธยมศึกษา[edit]

ชุมนุมวิกิพีเดีย[edit]

ตามหลักสูตรการเรียนระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทย นักเรียนจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมชุมนุมตามเวลาและการจัดหลักสูตรของสถานศึกษา[5] โดยกิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมนอกหลักสูตรที่มีครูที่ปรึกษาชุมนุมคอยกำกับดูแล กิจกรรมดังกล่าวอาจเป็น ศิลปะ กีฬา วิชาการ หรือกิจกรรมอื่นที่เป็นประโยชน์ทั้งตามที่นักเรียน ผู้ปกครอง ครูหรือโรงเรียนเห็นสมควรจัด

เพื่อให้นักเรียนได้รับประโยชน์เต็มที่จากการใช้วิกิพีเดีย ภายใต้โครงสร้างของหลักสูตรการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา เราจึงเสนอให้โรงเรียนที่มีความพร้อมจัดตั้งชุมนุมวิกิพีเดียขึ้นเพื่อให้นักเรียน รู้จักใช้ รู้จักสร้าง รวมถึง บอกต่อและแบ่งปันวิกิพีเดียกับคนอื่น นอกจากจะเป็นกิจกรรมชุมนุมที่พัฒนาศักยภาพส่วนตนในเชิงวิชาการแล้ว ยังเป็นการทำตนให้เป็นประโยชน์กับสังคมและสร้างมิตรภาพกับเพื่อนที่มีความสนใจคล้ายกันในโลกอินเทอร์เน็ต

  1. รู้จักใช้:
    • ทำความรู้จักกับวิกิพีเดีย ใช้ให้เป็นประโยชน์ทั้งสำหรับการศึกษาในหลักสูตร การค้นคว้าหาความรู้ที่ตนสนใจ รวมทั้งใช้เพื่อความบันเทิง การท่องเที่ยว และการนันทนาการ
    • เข้าใจข้อดี ข้อเสีย และข้อจำกัดของวิกิพีเดีย รู้วิธีประเมินความน่าเชื่อถือและสอบทานแหล่งข้อมูล รู้จักอาสาสมัครวิกิพีเดีย เข้าใจความเสรีและหลักเจตนาดี
    • เข้าใจเงื่อนไขเกี่ยวกับลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา และการนำวิกิพีเดียไปใช้ในงานของตนอย่างถูกต้อง
  2. รู้จักสร้าง:
    • เทคนิค: ใช้งาน MediaWiki ได้ เข้าใจการจัดรูปแบบ การแทรกสื่อ การแทรกลิงก์ การใช้แม่แบบ ฯลฯ
    • การเขียน: รู้ว่าหัวข้อใดสามารถเขียนสารานุกรมได้ (หรือควรอยู่ในโครงการพี่น้องของวิกิพีเดีย) รู้จักหลักการตั้งชื่อบทความ รู้จัก MoS รู้จักโครงการวิกิที่รับผิดชอบบทความนั้น (ถ้ามี) รู้จักหาวิกิลิงก์ภาษาต่างประเทศ (ถ้ามี) รู้จักหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ และรู้ว่าควรใช้ข้อมูลจากแหล่งใด รู้จักเรียบเรียงข้อมูล และใช้ภาษาที่เป็นสารานุกรม รู้จักการอ้างอิงอย่างเป็นวิชาการ รู้ความแตกต่างระว่างแหล่งข้อมูลอื่นกับอ้างอิง รู้จักการจัดหมวดหมู่ เข้าใจหลักมุมมองสากล
    • ความร่วมมือ: รู้จักใช้หน้าผู้ใช้และหน้าอภิปรายอย่างสร้างสรรค์ และสามารถร่วมมือกับอาสาสมัครอื่นบนวิกิพีเดีย
  3. บอกต่อและแบ่งปัน:
    • Sense of community
    • ร่วมสร้างกระแสความนิยม ความรู้สึกหวงแหนและความเป็นเจ้าของวิกิพีเดียร่วมกัน ผ่าน Social media
    • ร่วมตอบแบบสอบถามในโครงการ "คุณเคยชวนเพื่อนมาเขียนวิกิพีเดียหรือไม่"
    • ร่วมแบ่งปันแก่โรงเรียนอื่นที่ไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ด้วยโครงการ Wikipedia offline
ข้อเสนอจัดตั้งชุมนุม
  • ชื่อชุมนุม: ตั้งตามความเหมาะสมโดยอาจารย์และนักเรียนร่วมกันเสนอ
  • ครูที่ปรึกษา: ไม่จำกัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ (ควรมีครูอย่างน้อย 1 คนต่อนักเรียน 15 คน)
  • สมาชิก: ไม่จำกัดระดับชั้น ไม่จำกัดจำนวน (ขนาดที่เหมาะสมคือ 3-30 คน)
  • สถานที่/อุปกรณ์: ห้องปฏิบัติการณ์คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต กล้องบันทึกภาพนิ่ง กล้องบันทึกภาพเคลื่อนไหว
    • อาจออกนอกสถานที่ไปทัศนศึกษาในห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ หอจดหมายเหตุ อนุสรณ์สถาน อนุสาวรีย์ ฯลฯ (ดู w:en:GLAM (industry sector))
ตัวอย่างกิจกรรม
รู้จักใช้
  1. บันทึกนักอ่าน บันทึกรายวันจากการอ่านบทความในวิกิพีเดีย
  2. ฝึกการค้นคว้าหาข้อมูลจากวิกิพีเดียและแหล่งข้อมูลอื่น สอนให้ตระหนักถึงข้อดีและข้อจำกัดของวิกิพีเดีย
รู้จักสร้าง
  1. อบรมวิธีการเขียนและแนวปฏิบัติที่สำคัญของวิกิพีเดีย
  2. ให้นักเรียนฝึกการแก้ไขบทความที่ต้องการช่วยเหลือตามความสนใจของนักเรียน รู้จักแม่แบบ ป้าย โครงการวิกิตามความสนใจ
  3. ให้นักเรียนสร้างบัญชีผู้ใช้ในวิกิพีเดีย เริ่มต้นเขียนบทความที่ต้องการตามความสนใจของนักเรียน และมีปฏิสัมพันธ์ในชุมชนวิกิพีเดีย
  4. ให้นักเรียนร่วมแก้ไขและเขียนบทความอย่างต่อเนื่อง (ขึ้นอยู่กับเวลาของนักเรียนด้วย) รู้จักการป้องกันการก่อกวน การร่วมมือในศาลาชุมชน และร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อพัฒนาวิกิพีเดีย
  5. จัดการอบรมใหญ่หรือออกค่าย ทั้งจากในชุมนุมวิกิพีเดีย ชุมนุมวิกิพีเดียระหว่างโรงเรียน หรือกับชุมชนวิกิพีเดีย
  6. ให้นักเรียนเลือกบทความที่ไม่สมบูรณ์ในวิกิพีเดียแล้วทำการแก้ไขบทความหรือเริ่มเขียนบทความที่ต้องการในวิกิพีเดีย โดยเพิ่มข้อมูลให้สมบูรณ์ ตามแนวปฏิบัติของวิกิพีเดีย
บอกต่อและแบ่งปัน
  1. ส่งเสริมกิจกรรมในชุมนุมให้กับนักเรียนภายนอกชุมนุมและครูที่มีความสนใจเกี่ยวกับวิกิพีเดีย
  2. ให้นักเรียนศึกษาบทความต่างๆในวิกิพีเดียด้วยการอ่านบทความต่างๆในวิกิพีเดีย
การประเมิน (หากจำเป็นต้องประเมิน)
  • อาจทำได้หลายวิธี เช่น นักเรียนประเมินตนเอง นักเรียนประเมินกันเอง ครูประเมินนักเรียน
  • อาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น การพิจารณาจากผลงานบนวิกิพีเดีย การนำเสนอผลงานปากเปล่า การเขียนรายงาน
  • สิ่งที่ประเมินอาจจำแนกได้เป็นสองแนวทางคือ
    1. ความรู้ ความเข้าใจ ความภูมิใจ และประสบการณ์ที่ได้รับจากวิกิพีเดีย (เป็นเรื่องเฉพาะบุคคล)
    2. ผลงานที่สร้างสรรค์บนวิกิพีเดีย (เข้าถึงได้จากสาธารณะ)

ประกวดแข่งขัน[edit]

การประกวด
  1. ประกวดการปรับปรุงโลโก้โครงการ (อาจจัดทำทุก 2/5 ปี) ปัจจุบันบางโครงการในภาษาไทยยังไม่ได้ใช้โลโก้ใหม่ตามมาตรฐานของมูลนิธิฯ เช่น วิกิพจนานุกรม
  2. ประกวดเรียงความ/วาดรูป/คำขวัญเกี่ยวกับวิกิพีเดีย เช่น ความคิดของฉันเกี่ยวกับวิกิพีเดีย วิกิพีเดียในสายตาของข้าพเจ้า ฯลฯ
  3. ประกวดคลิปวีดีโอสั้น ความยาวไม่เกิน 1 นาที ในห้วข้อ (อัปโหลดลงคอมมอนส์เพื่อเข้าร่วมการประกวด แต่ตัดสินจากยอดผู้ชมในยูทูป)
    • "ถ้าคุณไม่เขียนวิกิพีเดีย แล้วใครจะเขียน"
    • "ฉันได้อะไรจากวิกิพีเดีย" เช่น ได้ความรู้จากการอ่านวิกิพีเดีย ได้ความภูมิใจจากการแก้ไขวิกิพีเดีย ได้เพื่อนจากชุมชนวิกิพีเดีย ฯลฯ
  4. การแข่งขันตอบคำถามวิกิพีเดียไทย (ความคิดจากการแข่งขันตอบคำถามสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯของสโมสรไลออนส์สากล และการตั้งคำถามประจำสัปดาห์ของผู้ใช้ Tranwill)
รางวัล/ของที่ระลึก/เกียรติบัตร/โล่ห์-ถ้วย
  1. ของที่ระลึก (Wikimedia merchandise นำเข้าจากอเมริกา และ/หรือ ผลิตเองในไทย)
  2. ทุนการศึกษาและทุนพัฒนาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ให้แก่ นักเรียนและโรงเรียน (ส่วนหนึ่งรับจาก Wikimedia Foundation อีกส่วนหาผู้สนับสนุนภายในประเทศ เช่น Intel หรือ Synnex)
  3. เกียรติบัตร/โล่ห์-ถ้วย ให้แก่โรงเรียนและนักเรียน (หาคนดังเซ็นต์ - คนดังในวิกิพีเดียเองได้ก็ดี)

Thai Wikipedia Challenge[edit]

(อยู่ในระหว่างการร่างโครงการ)

การใช้วิกิพีเดียในชั้นเรียน[edit]

(เป็นโครงการในขั้นต่อไป)

ระดับอุดมศึกษา[edit]

ชมรมวิกิพีเดีย[edit]

(เป็นโครงการในขั้นต่อไป)

ประกวดแข่งขัน[edit]

(เป็นโครงการในขั้นต่อไป)

การใช้วิกิพีเดียในชั้นเรียน[edit]

(เป็นโครงการในขั้นต่อไป)

สมาชิกโครงการ[edit]

Wikimedians in Thailand/Wikiclubs in schools/members

ดูเพิ่ม[edit]

อ้างอิง[edit]

  1. การจัดอันดับของเว็บไซต์อเล็กซา สืบค้นเมื่อ 2010-12-10
  2. การจัดอันดับของเว็บไซต์อเล็กซา สืบค้นเมื่อ 2010-12-14
  3. การสำรวจของนักวิชาการสหรัฐอเมริกาจาก Institute for the Theory and Practice of International Relationsเกี่ยวกับข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาพบว่า ร้อยละ 13.46 ได้ใช้วิกิพีเดียในการศึกษา,ร้อยละ 52.36 ได้ใช้วิกิพีเดียในการเรียนการสอน,ร้อยละ 14.6 ได้ให้นักเรียนอ้างอิงข้อมูลจากวิกิพีเดียในงานวิจัย และร้อยละ 6.96 ได้เคยร่วมแก้ไขในวิกิพีเดีย
  4. w:en:Wikipedia:Search_engine_statistics
  5. สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ,แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551, โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, 2553, หน้า 53