Talk:Wikimedia Thailand/WikiForHumanRights

From Meta, a Wikimedia project coordination wiki

(linked from th:แม่แบบ:ประกาศ/หัวข้ออภิปราย shown on th:พิเศษ:ปรับปรุงล่าสุด and th:วิกิพีเดีย:ศาลาประชาคม.)

สืบเนื่องจาก Talk:Wikimedia Thailand/WikiGap 2022#WikiForHumanRights มีการทาบทามให้อาสาสมัครร่วมกิจกรรม WikiForHumanRights กันต่อเนื่องต่อไป ตอนแรกคิดว่าจะตีความได้เองผมอยากจัดในหัวข้อ "สันติประชาธรรม" แต่ว่าโจทย์นี้เขามีการตีความไว้ก่อนหน้าแล้วเป็น สิทธิการเข้าถึงสิ่งแวดล้อมที่ดี มีสามหัวข้อย่อยย่อ คือ ภูมิอากาศ มลพิษ และความหลากหลายทางชีวภาพ คงจะเพียงตีความได้ในบริบทของไทยเพิ่มเติม เช่น ภูมิอากาศ อาจเน้น โลกร้อนและน้ำท่วม มลพิษสามารถเน้นไปที่ PM10/PM2.5 และความหลากหลายทางชีวภาพอาจเชื่อมโยงไปยัง en:Wiki Loves Earth

วันสำคัญสากลที่ผูกกับการจัดกิจกรรมมีดังนี้

  • Launch of Writing Contest and Community Events- April 14th, 2022
  • Earth Day - April 22,2022
  • World Environment Day- June 5,2022

--Taweethaも (talk) 01:15, 13 March 2022 (UTC)[reply]

หัวข้อในบทความแนะนำเพื่อเขียนหรือแก้ไขในกิจกรรมมาจาก WikiForHumanRights/Topic List หรือ Template:WikiForHumanRights List 2022 โดยหัวข้อใหญ่ Human rights หรือ สิทธิมนุษยชน นั้นมีมาตั้งแต่เริ่มครับ (Page history) --Karto1 (talk) 13:37, 18 April 2022 (UTC)[reply]
เหมือนว่าหัวข้อ Human rights นั้นมีมาตั้งแต่ปี 2021 แล้ว แต่เปลี่ยนจากชื่อเดิมคือ Rights and agreements มาเป็น Human rights ในปีนี้ครับ ส่วนปี 2020 ไม่มีหัวข้อทำนองนี้ครับ--Karto1 (talk) 04:47, 21 April 2022 (UTC)[reply]
@Karto1: รับทราบครับ ในหน้าโครงการมีข้อมูลสอดคล้องกับหัวข้อของต่างประเทศแล้ว --Taweethaも (talk) 01:42, 23 April 2022 (UTC)[reply]

รูปแบบการจัด/ผู้สนับสนุน[edit]

ถ้าเป็นไปได้ ขอให้ปิด 19 มีนาคมหรือหลังจากสรุปผลของ WikiGap ได้ครบถ้วนก่อนนะครับ ความคิดเห็นเปลี่ยนแปลงได้เมื่อเห็นผลลัพธ์มีการเปลี่ยนแปลงไป (ของที่ระลึกแจกได้เหมือนกันทั้งสามกรณีแก่ผู้เข้าร่วมและอาสาสมัครที่ร่วมจัดงาน ตอนนี้ไม่กลัวของหมดแต่กลัวคนไม่มีเวลามาร่วมหรือร่วมไม่ได้ถึงคุณภาพ/ปริมาณที่เป็นมาตรฐานเสียมากกว่า)

จัดแบบออนไลน์ 100% โดยไม่มีการทำ teleconference เพิ่มเติมนอกจากช่องทางเดิมที่มีอยู่แล้ว เช่น discord เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์กับ WikiGap 2022
  1. Support Support อยากลองเปรียบเทียบกับ WikiGap ดูครับว่าความจริงแล้ว teleconference ที่เป็นกลุ่มใหญ่ช่วยอะไรได้จริงไหมและคุ้มกับแรงงานของอาสาสมัครที่ลงไปไหม --Taweethaも (talk) 06:40, 12 March 2022 (UTC)[reply]
  2. Support Support --Geonuch (talk) 03:30, 13 March 2022 (UTC)[reply]
  3. Support SupportPhakkaponP (talk) 08:30, 13 March 2022 (UTC)[reply]
  4. Support Support --Tvcccp (talk) 10:57, 14 March 2022 (UTC)[reply]
  5. Neutral Neutral --Karto1 (talk) 14:46, 16 March 2022 (UTC)[reply]
  6. Neutral Neutral --Teetee taw (talk) 14:56, 16 March 2022 (UTC)[reply]
จัดแบบออนไลน์ แต่มี teleconference ในลักษณะเดียวกับ WikiGap 2022
  1. Neutral Neutral ถ้ามีแรงอาสาสมัครมาช่วยกันให้มากหน่อย ก็คงพอจัดไหวครับ --Taweethaも (talk) 06:40, 12 March 2022 (UTC)[reply]
  2. Neutral Neutral ถ้าอาสาสมัครยินดีที่จะเปิดเผยตัวตน มีเวลาและต้นทุนเพียงพอ ก็เชื่อว่าจะดำเนินการได้และน่าจะเป็นผลดีโดยเฉพาะกับผู้ใช้ใหม่ครับ --Geonuch (talk) 03:30, 13 March 2022 (UTC)[reply]
  3. Neutral Neutral --Tvcccp (talk) 10:57, 14 March 2022 (UTC)[reply]
  4. Support Support ตามข้อเสนอของคุณ Athikhun.suw ครับ สำหรับ teleconference จะไม่ใช่ในรูปแบบสอนใช้วิกิพีเดียเหมือนที่เห็นใน WikiGap 2022 แต่จะเป็นในรูปแบบเชิญวิทยากรมาบรรยายเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมครับ--Karto1 (talk) 14:46, 16 March 2022 (UTC)[reply]
  5. Support Support เห็นด้วยกับ Karto1 --Teetee taw (talk) 14:56, 16 March 2022 (UTC)[reply]
จัดแบบ hybrid โดยมีการใช้พื้นที่ทางกายภาพด้วย
  1. Oppose Oppose ยังไม่เหมาะกับสถานการณ์ในประเทศไทย [COVID-19 ยังไม่เป็น endemic] --Taweethaも (talk) 06:40, 12 March 2022 (UTC)[reply]
  2. Oppose Oppose ตามความเห็นของคุณ taweetham --Geonuch (talk) 03:30, 13 March 2022 (UTC)[reply]
  3. Oppose Oppose ตามความเห็นของคุณ taweetham –PhakkaponP (talk) 08:30, 13 March 2022 (UTC)[reply]
  4. Oppose Oppose ตามความเห็นของคุณ taweetham เช่นกันครับ --Tvcccp (talk) 10:57, 14 March 2022 (UTC)[reply]
  5. Oppose Oppose --Karto1 (talk) 14:46, 16 March 2022 (UTC)[reply]
  6. Oppose Oppose --Teetee taw (talk) 14:56, 16 March 2022 (UTC)[reply]

@Athikhun.suw, Tanapatjms, Teetee taw, 2ndoct, and Taweetham: วันนี้ 1 เมษายน ประชุมกันสามคน (Tanapatjms|Karto1|Taweetham) ขอเลือกจัดกิจกรรมในรูปแบบที่ 1 เพื่อความชัดเจนในการดำเนินการต่อไปครับ ภายใน 1 สัปดาห์ข้างหน้าจะสร้างหน้าสำหรับโครงการโดยคัดลอกมาจากหน้าของกิจกรรม WikiGap 2022 in Bangkok โดยทั้งหมด กติกาเดิมเพียงแต่ผู้สนับสนุนจะลดลงหนึ่งราย คงเหลือแต่ WMTH และ dtac คาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการได้ในวันที่ 7 เมษายนครับ --Karto1 (talk) 10:56, 1 April 2022 (UTC)[reply]

@Athikhun.suw, Tanapatjms, Teetee taw, 2ndoct, Geonuch, PhakkaponP, Tvcccp, Horus, and Paul 012: ผมสร้างหน้าร่างไว้แล้ว โดยตัดข้อความภาษาอังกฤษจาก WikiGap ออก แต่คิดว่าจะเพิ่มการแก้ไขในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษเข้าไป เพื่อให้กิจกรรมนี้ inclusive กับชุมชนวิกิมีเดียทั้งหมดที่อยู่ในขอบข่ายของ WMTH ไม่แน่ใจว่า 2ndoct เห็นด้วยหรือไม่ครับ เดิมก็เหมือนจะใส่ไว้ใน WikiGap แต่ผมไปตัดออกในคราวที่แล้วเพราะเป็นการเพิ่มมาทีหลัง ในส่วนของกติกาตรงนี้จะขอปรึกษาให้ลงตัวภายใน 7 เมษายนครับ --Taweethaも (talk) 05:56, 2 April 2022 (UTC)[reply]
เสนอวันที่นะครับ วันศุกร์ที่ 22 เมษายน 2565 เวลา 00:00:01 (UTC +7) ถึงวันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน 2565 เวลา 23:59:59 (UTC +7) น่าจะพอมีเวลาได้เตรียมตัวนับแต่ 8 เมษายน --Taweethaも (talk) 03:18, 3 April 2022 (UTC)[reply]
@Athikhun.suw, Tanapatjms, Karto1, Teetee taw, 2ndoct, Geonuch, PhakkaponP, Tvcccp, and Horus: เพิ่งคุยกับ UNESCO Bangkok เป็นครั้งแรกนะครับ ยังไม่ได้ตกผลึกกิจกรรม แต่ว่ามีแนวโน้มจะเป็นทางเลือกที่ 2 เพราะจะต้องมี training component ของกิจกรรม อาจจะเป็นแนะนำการอ่าน หรือวิเคราะห์บทความใดน่าจะสร้างแล้วมีผู้สนใจอ่าน (ประกอบกับแนะนำการเขียน) ไปด้วยกันก็ได้ ไว้จะต้องประชุมกันในวันที่ 21 เม.ย. อีกครั้งหนึ่ง --Taweethaも (talk) 09:06, 13 April 2022 (UTC)[reply]

ความเห็นอื่น[edit]

ผมคิดว่าอาจต้องเตรียมเวลาในการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้นในทุกช่องทาง อย่างน้อยก็ 2 สัปดาห์ถึง 1 เดือน เพื่อให้ผู้ใช้มีเวลาในการเตรียมตัวหรือทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนวิกิพีเดียเพียงพอ และหากเป็นไปได้ ก็อยากให้มีกิจกรรมในโครงการอื่นควบคู่ไปด้วย เช่น เอกสารเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในวิกิซอร์ซ คำคมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในวิกิคำคม ฯลฯ เชื่อว่าจะเป็นผลดีต่อโครงการพี่น้องด้วยครับ (ส่วนหลังอาจนอกเรื่องไป ไว้โอกาสหน้าได้ครับ) --Geonuch (talk) 03:43, 13 March 2022 (UTC)[reply]

เห็นด้วยครับ - โครงการพี่น้องอยู่ด้วยกันมาตั้งแต่ต้น - อาจจะต้องช่วยกันออกแบบวิธีนับ contribution ของโครงการพี่น้องเพื่อร่วม campaign ของโครงการนี้หรือโครงการอื่นต่อไป ส่วนเรื่องการแจ้งล่วงหน้า ผมพยายามจะให้ทำปฏิทินปฏิบัติงานประจำปีครับ สิ่งต่อไปคือ WLE (พ.ค.)/WLM (ก.ย.) เข้าใจว่าอยู่บนคอมมอนส์เป็นส่วนใหญ่ แต่เราจะทำกติกาบังคับให้มาเชื่อมโยงกับวิกิพีเดียหรือโครงการพี่น้องให้มากขึ้นก็ได้ครับ --Taweethaも (talk) 03:55, 13 March 2022 (UTC)[reply]
หากพิจารณาในส่วนของการมีส่วนร่วมจาก contribution อยากให้เป็นในลักษณะของการสร้างบทความ, พัฒนาบทความ หรือการแก้ไขที่มากกว่า 500 ไบต์ในแต่ละครั้ง (หรือหากเห็นว่าโหดไป ก็อนุโลมเป็น 100 ไบต์ก็ได้) มากกว่าการแก้ไขเพียงเล็กน้อย หรือแค่เคาะวรรคเพื่อปั่นยอด, กดย้อนรัว ๆ โดยไม่สนใจรูปแบบการเขียน หรือเอาแต่พิมพ์วิจารณ์ในหน้าอภิปรายต่าง ๆ จำนวนมาก แต่กลับไม่มีผลงานอะไรเป็นของตัวเองอย่างเป็นรูปธรรม
จึงอยากให้มีเครื่องมือหรือบอตในการตรวจจับเพื่อเฟ้นคุณภาพ หากเป็นไปได้ ขอบคุณครับ --B20180 (talk) 04:23, 18 March 2022 (UTC)[reply]
ลืมอ่านตรงนี้ไปเลยครับ เห็นด้วยในหลักการเสนอให้ @2ndoct: พิจารณาว่า 500 ไบต์ต่อหนึ่งการแก้ไขเหมาะสมหรือไม่นะครับ เพราะว่า 2ndoct จะเป็นคนที่นับตรงนี้ให้ ผมเข้าใจว่ากติกาตรงนี้จะช่วยให้มีการแก้ไขเนื้อหามากกว่าการจัดรูปแบบ เรื่องการจัดรูปแบบให้สวยงามนั้นอาจจะจัดเป็น campaign แยกต่างหากในโอกาสอื่น หรือ เป็นลักษณะของการแนะนำเครื่องมือแทน -- Taweethaも (talk) 09:31, 13 April 2022 (UTC)[reply]
ครั้งนี้ลองปรับการนับ contribution เป็นวิธีนับคะแนนแทน ค่ะ การแก้ไขทุกๆ 2,000 ไบต์จะให้ 1 คะแนนและมีคะแนนโบนัสพิเศษสำหรับบทความแนะนำและการสร้างบทความใหม่ค่ะ โดยให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นผู้บันทึกคะแนนเอง และทีมผู้จัดค่อยตรวจสอบอีกครั้งค่ะ -- 2ndoct (talk) 06:56, 21 April 2022 (UTC)[reply]

ผมมีความเห็นและข้อเสนอดังนี้ครับ
1. รูปแบบการจัดกิจกรรมในปีที่แล้ว สามารถดูที่ WikiForHumanRights/2021/Organize เพื่อเป็นไอเดียได้ครับ
2. ผมเห็นว่ารูปแบบ edit-a-thon และ contest ใช้กันมาบ่อยครั้งแล้ว คิดว่าอาจเพิ่มกิจกรรมด้านอื่นไปด้วย เช่น การถ่ายภาพ หรือการทำสื่อประกอบ
3. ผมอยากจะขอเสนอแนะให้เพิ่มกิจกรรมความร่วมมือภายนอกมากขึ้น เกี่ยวกับประเด็นของงานซึ่งก็คือสิ่งแวดล้อม ที่อาจจะช่วยให้วิกิมีเดียเป็นที่รู้จักในวงกว้างและช่วยให้เกิดความเข้าใจที่ดีต่อวิกิพีเดีย เช่น
3.1 ร่วมมือกับหน่วยงานสิ่งแวดล้อม เช่น สวนสัตว์ หรือพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ นำข้อมูลจากวิกิพีเดียไปใช้ประกอบคำอธิบายเช่นเดียวกับในต่างประเทศ
3.2 ร่วมมือกับหน่วยงานการศึกษาในการเข้าถึงทรัพยากรความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เช่น อาจร่วมมือกับห้องสมุดหรือคณะบางที่ ให้เข้าถึงสื่อสำหรับชาววิกิพีเดียใช้โดยเฉพาะ (ทำนองเดียวกับ Wikipedia Library)
3.3 อาจขอความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญเขียนบทความวิกิพีเดียเพื่อเป็นการโปรโมต
ทั้งนี้แล้วแต่ผู้ประสานงานสะดวกครับ เพราะผมยอมรับว่านอกจากการเสนอแนะไอเดียกับการร่วมมือออนไลน์ ผมคงจะช่วยเหลืออะไรเพิ่มจากนี้ไม่ได้ --Horus (talk) 07:39, 13 March 2022 (UTC)[reply]
ตรงประเด็นเลยครับ ยังมองหาผู้สนับสนุนในประเทศไทยที่มีความเชี่ยวชาญตรงกับโจทย์ของงานไม่ได้ เพราะงานมาใหม่มากและเจ้าของไม่ได้ส่งมอบคู่ความร่วมมือมาให้ด้วย https://www.unep.org/regions/asia-and-pacific ไว้จะต้องลองคิดต่อไปดูครับ --Taweethaも (talk) 08:11, 13 March 2022 (UTC)[reply]
กรณีหน่วยงานการศึกษา ผมว่าอาจลองพิจารณาติดต่อกับกลุ่มที่เคยมีประเด็นเรื่องส่งการบ้านในวิกิพีเดีย (เช่น w:th:วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/ผู้ใช้ Teamswu*, w:th:วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/การจัดการการบ้านเกี่ยวกับบทความหัวเรื่องท้องถิ่น ฯลฯ) หรือผู้ใช้ที่มีสถานะเป็นครู/อาจารย์ซึ่งมีแสดงตัวหลายคน แม้หัวข้ออาจไม่ได้ตรงกับเรื่องที่จัดแต่อาจขอให้ช่วยส่งต่อไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องได้ และที่สำคัญคือจะมีประโยชน์ในการสร้างพันธมิตรและ connection ของกลุ่มการศึกษาในอนาคตให้มากขึ้นครับ --Geonuch (talk) 15:28, 16 March 2022 (UTC)[reply]
ความจริงสามารถสร้าง campaign กิจกรรมร่วมกับหน่วยงานทางการศึกษาได้นะครับ อาจจะเริ่มจากการอบรมครูอาจารย์เสียก่อน น่าจะมีตัวอย่างแล้วในต่างประเทศที่เอามาถอดบทเรียนใช้ได้ แต่สำหรับงาน WikiForHumanRights ที่กำลังจะเป็นเผือกร้อนขึ้นเรื่อยๆ ตามความร้อนประเทศไทยนั้น ผมเข้าใจว่ายังหาสปอนเซอร์ไม่ได้ ผมได้สอบถามไปยังผูัจัดว่า local office ของ unep จะช่วยอะไรเราได้บ้างไหม และขอคำตอบเขาภายในหนึ่งสัปดาห์ ถ้าพุธนี้ไม่มีข่าวดีก็คือขาดผู้สนับสนุนครับ --Taweethaも (talk) 08:26, 21 March 2022 (UTC)[reply]
ได้คำตอบ no มาแล้วครับ --Taweethaも (talk) 09:18, 21 March 2022 (UTC)[reply]

ความร่วมมือกับ UNESCO Bangkok/ITU[edit]

สรุปว่าโครงการนี้มีหน้าของตัวเองต่างหากแยกออกไปนะครับ Wikimedia Thailand/WikiGap: Girls in Digital World --Taweethaも (talk) 05:50, 12 June 2022 (UTC)[reply]

extension of deadline[edit]

@Athikhun.suw, Tanapatjms, Karto1, Teetee taw, 2ndoct, Geonuch, PhakkaponP, Tvcccp, and Horus: กิจกรรม training ร่วมกับ UNESCO Bangkok/ITU ยังไม่ได้กำหนดวันมาแต่ว่าน่าจะเป็นช่วงปลายเดือนมิถุนายนครับ ถ้าจะนับรวมเป็น WikiForHumanRights จะต้องขอขยายระยะเวลาของกิจกรรมออกไปเป็นสิ้นเดือนมิถุนายนแทนกำหนดเดิมคือ 5 มิถุนายน

คงกำหนดเดิมคือ 5 มิถุนายน
เลื่อนกำหนดออกไป (โดยประมาณคือ 30 มิถุนายน)
  1. Support Support --Taweethaも (talk) 01:47, 23 April 2022 (UTC)[reply]
  2. Support Support --Tanapatjms (talk) 13:20, 23 April 2022 (UTC)[reply]
  3. Support Support --Tvcccp (talk) 19:08, 23 April 2022 (UTC)[reply]
ความเห็น
  • 1. การจัดงานนี้ต้องตรงกับ anniversary อะไรไหมครับ ไม่อย่างนั้นจะเลื่อนไปตามความสะดวกก็ได้ครับ 2. ถ้าทีมผู้จัดมีงานส่วนออนไลน์ที่สามารถแบ่งมาให้ชุมชนจัดการได้ก็แจ้งมาได้เลยครับ --Horus (talk) 02:40, 23 April 2022 (UTC)[reply]
    ส่วนของ human rights เข้าใจว่ามีวันสำคัญทางสิ่งแวดล้อมที่ยืมมาใช้ แต่ส่วนของ UNESCO Bangkok/ITU วันสำคัญคือ 28 เม.ย. (Girls in ICT Day) เขาจะประกาศกิจกรรม จากนั้นก็จัดต่อไปอีก 1-2 เดือน จึงไม่น่าจะเป็นประเด็นครับ ส่วนงานที่แบ่งไปให้ทีมออนไลน์ในชุมชนช่วยได้นั้นน่าจะมีแน่นอนครับ ตอนแรกเราอาจจะมองไม่เห็นกัน แต่ว่าการตามไปเก็บกวาดบทความเดิมตั้งแต่ WikiGap แบบปิดทองหลังพระยังคงต้องดำเนินการอยู่ต่อไปด้วยครับ ของส่วนนี้ก็คงคล้ายกัน --Taweethaも (talk) 03:45, 23 April 2022 (UTC)[reply]

@Athikhun.suw, Tanapatjms, Karto1, Teetee taw, 2ndoct, Geonuch, PhakkaponP, Tvcccp, and Horus: ตกลงว่าไม่ได้เลื่อนไป 30 มิถุนายนนะครับ คนที่ร่วมกิจกรรม 9 มิถุนายนจะได้รับรางวัลจาก MUIC Sigma club แทนที่จะเป็นรางวัลภายใต้โครงการ WikiForHumanRights --Taweethaも (talk) 01:53, 10 June 2022 (UTC)[reply]

Opening ceremony of Girls in ICT Day Thailand 2022[edit]

@Tanapatjms: ได้รับเชิญให้พูดสามนาทีในงาน Opening ceremony of Girls in ICT Day Thailand 2022 ช่วง Talking tech – Girls and Women in ICT on “Access and safety” – Breakout room 2: Talking tech with the Industries. A virtual session ในนามวิกิมีเดียประเทศไทย มีกำหนด 14:00-14:30 (UTC+7) วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายนนี้ จะมีการเตรียมสไลด์สำหรับพูดสองแผ่นและ speech ร่างไว้ด้านล่างนี้ ให้ทุกคน @Athikhun.suw, Karto1, Teetee taw, 2ndoct, Geonuch, PhakkaponP, Tvcccp, and Horus: ช่วยกันดูได้ครับ --Taweethaも (talk) 08:29, 25 April 2022 (UTC)[reply]

Presentation slides --Karto1 (talk) 15:08, 27 April 2022 (UTC)[reply]

"Slide #1" Introduction & Statement of the problem
  • Wikimedia Thailand
  • Systematic bias
"Slide #2" Solutions
  • Edit-a-thon campaign (WikiGap, WikiForHumanRights)
  • Volunteer recruitment and retention


บทพูดครับ

Thanks for your kind introduction. Good afternoon, everyone. I am James - Tanapat, a volunteer coordinator from Wikimedia Thailand. It’s a great honor and pleasure to have this opportunity to speak with you today.

The English Wikipedia started in 2001. WikiMEdia foundation (M-for-Mike rather than P-for-Papa) was incorporated later to take care of Wikipedia and its sister projects. Since its inception in 2008, Wikimedia foundation, WMF, in short, have 5 CEOs. All of them are women.

WMF and its affiliate are here to support and maintain Wikimedia projects as well as to promote public knowledge. WMF's vision is "Imagine a world in which every single person in the world is given free access to the sum of all human knowledge..."

Wikimedia Thailand is one of the WMF chapters. We are Thai volunteers working on Thai Projects or articles relating to Thailand in other languages.

As a developing country, access to vital information and basic knowledge is difficult for many reasons. We believe that knowledge are the best form of protection for girls in this circumstance. Wiki platform, as a vehicle of knowledge dissemination, play a significant role to fight an uphill battle against misinformation and ignorance.

Wikipedia, unfortunately, has a number of systemic biases. Gender bias is one of them. There are considerably fewer women biographies compared to males’ on Wikipedia. Those that exist are found to have more negative words and such articles are prone to be deleted.

Moreover, only 9% of editors are female while the majority of volunteers are white male. Knowingly or unknowingly focusing on content from their backgrounds has a severe consequence. Some information and perspective on the articles are neglected or biased.

Our projects help solving these problems by creating new articles and better versions of existing articles. Wiki Gap, an edit-a-thon on women’s biographies was completed in March this year in collaboration with the Embassy of Sweden, Bangkok. It resulted in 67 new and 15 edited women articles. An ongoing edit-a-thon at this moment is WikiForHumanRights.

Wikimedia Thailand embraces volunteers from all walks of life to promote cultural, linguistic and GENDER diversity. In particular, we look forward to welcoming new female volunteers who will be valuable additions to our movement. If you want to make a difference, start editing today. Anyone can edit Wikipedia!

ตอนนี้ผมพูดบททั้งหมดภายใน 3 นาทีไม่ทัน เกินมาประมาณ 1 นาที หากใครคิดว่ามีส่วนไหนที่สามารถกระชับชัดเจนมากขึ้นได้ สามารถแก้ไขได้เลยนะครับ --Tanapatjms (talk) 15:33, 26 April 2022 (UTC)[reply]

ตัดแล้ว น่าจะได้สามนาที มีเวลาเหลือให้เน้นคำและความรู้สึกไปได้ครับ Taweethaも (talk) 16:58, 26 April 2022 (UTC)[reply]

ลักษณะกิจกรรม[edit]

ในเบื้องต้นได้ความว่าจะเป็นกลุ่มปิด เจาะไปยังกลุ่มเป้าหมายไในสถานศึกษาโดยตรงเลย จัดการอมรมเพียง 2 ชั่วโมง แต่อาจจะบันทึกเทปไว้เพื่อใช้ในการทำงานอื่นต่อไปได้ในอนาคต --Taweethaも (talk) 05:30, 7 May 2022 (UTC)[reply]

@Athikhun.suw, Tanapatjms, Karto1, Teetee taw, 2ndoct, Geonuch, PhakkaponP, Tvcccp, and Horus: มีความคืบหน้า 2 ประการครับ (1) Tanapatjms เป็นผู้ประสานงานหลัก จะอัปเดตข่าวสารและติดต่ออาสาสมัครที่เกี่ยวข้องต่อไป (2) กิจกรรม 2 ครั้งที่เป็นโควตา UNESCO เราได้รับ 1 และเราแบ่งให้ dtac หนึ่ง ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ยังไม่เกี่ยวกับวิกิพีเดีย ส่วนที่เราได้รับมา 1 ครั้ง เราเลือกดำเนินการแบบกลุ่มปิดโดยขอความร่วมมือของอาจารย์ในวิชาหนึ่งนำนักศึกษาในหลักสูตรนานาชาติเข้ามารับการอบรมไปเลย เพื่อให้ได้คนจำนวนแน่นอนในเวลาที่กำหนด และเป็นกลุ่มเป้าหมายตามอายุและใช้ภาษาอังกฤษได้ (เพื่อฟังวิทยากร UNESCO/ITU) วันเวลาที่กำหนดคือ พฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน เวลา 14-16:00 น. โดยเป็นเงื่อนไข hybrid ตามข้อกำหนดของวิชาเรียนที่ไปขอคาบเวลามา (3) ความเชื่อมโยงกับ WikiForHumanRights มีจำกัด แต่ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ชักนำอาสาสมัครใหม่เข้ามาใน campaign period และเสนอให้เขาลองเข้าร่วมกิจกรรมดูหลังจากอบรมแนะนำการแก้ไขวิกิพีเดียให้แล้ว (4) pilot activity นี้อาจดูเล็กและจำกัดอยู่ในวงแคบก่อน แต่ประโยชน์ที่คาดหมายแก่องค์กร คือ ก.สร้างความสัมพันธ์เครือข่ายกับผู้สนับสนุนที่สำคัญ ข.พัฒนาอาสาสมัครที่เป็นทีมผู้จัดงาน และ ค.พัฒนา/ทดลอง/เก็บผลตอบรับ สื่อสำหรับอบรมผู้ใช้ใหม่ หากเราประสบความสำเร็จในประเด็นใดประเด็นหนึ่งในสามประเด็นนี้ ก็จะเป็นรากฐานสำคัญต่อการขยายผลในวงกว้างได้ต่อไป --Taweethaも (talk) 00:47, 20 May 2022 (UTC)[reply]
พอจะอธิบายความเกี่ยวข้องกับวิกิพีเดียได้ไหมครับ ลักษณะจะเป็นทำนองเดียวกับ WikiGap ที่จัดไปแล้วหรือเปล่า (ถ้าเป็นแบบนั้นพอจะทำให้มันต่างกันได้ไหมครับ) --Horus (talk) 11:10, 20 May 2022 (UTC)[reply]
@Horus and Tanapatjms: มันคือ (1) WikiGap แบบคราวที่แล้วแต่จัดในกลุ่มปิดและมี UNESCO เป็นเจ้าภาพร่วมครับ ปีหน้าควรจัดให้อยู่ด้วยกัน ปีนี้ UNESCO ตอบเรามาช้า แต่เราต้องตอบรับไว้เพื่อรักษาความต่อเนื่องในการจัดกิจกรรมร่วมกัน (2) เนื่องจากทราบกลุ่มเป้าหมายชัดเจนและอยากปรับปรุงจากกิจกรรมของคราวที่แล้ว จึงมีกิจกรรมเกมส์ที่ทำให้สนุกสนาน/น่าสนใจเหมาะแก่วัยของเยาวชน (3) มีส่วนการบรรยายของ UNESCO/ITU เราตัดเวลาให้ไปเลยยังไม่ได้ทราบถึงลักษณะกิจกรรมในรายละเอียด --Taweethaも (talk) 17:23, 21 May 2022 (UTC)[reply]
อยากทราบอีกนิดนึงว่า เวลาจัดกิจกรรมร่วมกับ partner ภายนอก อาสาสมัครวิกิมีเดียมีอิสระในการเสนอจุดประสงค์และรูปแบบมากน้อยแค่ไหนครับ ถ้าเราจะออกแบบกิจกรรมที่ไม่เคยทำมาก่อน เช่น การขอให้บัญชีวิกิมีเดียสามารถใช้ทรัพยากรจากยูเนสโก หรือการให้ใช้ข้อมูลจากวิกิพีเดียในนิทรรศการของเขา แบบนี้จะทำได้ไหมครับ --Horus (talk) 01:20, 22 May 2022 (UTC)[reply]

@Horus: เพิ่งมีโอกาสได้มาเห็นข้อความนะครับ เป็นคำถามที่ดีมากเลยครับ แยกเป็นสองประเด็น

  1. ขอเล่าให้ฟังจากประสบการณ์ WLX โดยเฉพาะ WLM (ซึ่ง partner หรือผู้จัดหลักไม่ได้ภายนอกมากนักเพราะเป็นกลุ่มภายใน movement ด้วยกันเอง) โครงสร้างเขาชัดเจนมาก เราต้องปฏิบัติตามโดยเคร่งครัดเพื่อความยุติธรรมและประสิทธิภาพของการประกวด ต่อมาส่วนที่เป็น edit-a-thon และกิจกรรมที่เหลือทั้งหลายทั้งปวง เกิดจากเราจะออกแบบต่อรองกันกับผู้จัดร่วมได้ครับ แต่ความยืดหยุ่น (หรือ การไม่มีโครงสร้างและกำหนดเวลา) อาจทำให้เราหลงทิศทางหรือไม่มีความคืบหน้าอย่างที่ควรเป็นก็ได้ การเข้าร่วมกับ partner ทั้งหลายไม่ได้หวังผลชั่วคราวเพียงครั้งเดียว เราหวังว่าปีหน้าจะได้จัดกิจกรรมร่วมกันอีก และนำไปสู่การหาอาสาสมัครไว้ พัฒนาและคงไว้ซึ่งอาสาสมัครเดิม เพื่อให้ได้เนื้อหาที่มีปริมาณและคุณภาพ ดังนั้นต้องใช้ความยืดหยุ่นนี้ให้เป็นประโยชน์ โครงการที่ทำครั้งเดียวแล้วเลิกไปเป็นตัวอย่างจำนวนหนึ่ง (WikiClub in school / Edit-a-thon ร่วมกับ Smithsonian / บทความที่ 100K / โครงการใส่รูป) เรื่องเกี่ยวกับ feminism ยังไม่ถือว่าเป็นครั้งเดียวแล้วเลิก แต่ทำหลายปียังไม่นิ่งและกำลังหาทิศทาง อาจจะต้องหาทางรวมไปกับ human rights ส่วนเรื่องโครงการอาหารได้ส่งไปของ partner สำหรับสนุนแล้วรอฟังผลตอบรับนะครับ (ถ้าเขาขอให้ปรับแก้ไขบ้างก็คงอาจต้องโอนอ่อนผ่อนตามไป)
  2. ยูเนสโกมีทรัพยากรบางอย่างที่อยากให้เราไปใช้อยู่แล้วครับ และ WMF เคยมีข้อเสนอให้ดีแทคนำ content บางอย่างของโครงการไปรวมอยู่ในแอปของเขา รายละเอียดข้อเสนอคุยกับผมหรือ @Athikhun.suw: ข้อเสนอมมีอยู่ตลอดเวลา ผมคิดว่ามี 100 จะเป็นไปได้จริงสัก 1 เพราะว่าเหตุผลสองฝั่งไม่จำเป็นต้องเหมือนกันหรือพร้อมกันเสมอไป แต่เราและ partner ที่มีความสัมพันธ์อันดีต่อกันไม่ควรจะหยุดคิดสร้างข้อเสนอเหล่านี้ครับ 100 ได้ 1 ก็ดีมากแล้ว แต่เมื่อเราเข้าใจกันดีมากขึ้นอัตราส่วนก็อาจจะดีขึ้นเป็น 10 ต่อ 1 หรือ 2 ต่อ 1 (เหตุผลที่อัตราส่วนดีขึ้น ปัจจุัยหลักน่าจะเป็นเพราะว่ารู้อยู่แล้วว่าเขาไม่เอา ไม่ต้องไปถาม ปัจจัยรองจะเป็นเพราะว่ารู้ว่าเขาต้องการอะไรเป็นพิเศษจึงเสนอได้เหมาะสม)

--Taweethaも (talk) 00:34, 8 June 2022 (UTC)[reply]